บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา หาความสัมพันธ์ และสร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 341 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา มีดัชนีความสอดคล้องของทุกข้อคำถามเท่ากับ 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .983 2) การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีดัชนีความสอดคล้องของทุกข้อคำถามเท่ากับ 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .993 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์การการแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตฟื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง 4. สมการพยากรณ์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬโดยใช้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นตัวแปรพยากรณ์ ได้อำนาจพยากรณ์ร้อยละ 61.70 โดยมีสมการดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้ Y = 1.061 + 0.271(X3) + 0.262(X4) + .218(X2) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Z = 0.324(Z3) + 0.319(Z4) + .247(Z2)
Abstract
The purposes of this research were: to study the relationship and to create predictive equations of the transformational leadership of school administrators affecting learning organization of schools under Buengkan Primary Educational Service Area Office. The samples were 341 teachers in schools under Buengkan Primary Educational Service Area Office which were in the 2021 academic year, using stratified random sampling. The instrument was a 5-rating-scale questionnaire included 1) a set of questionnaires concerning transformational leadership of school administrators with the index of item-objectives congruence of all items were 1.00, the reliability of 0.95. 2) a set of questionnaires concerning learning organization with the index of item-objectives congruence of all items were 1.00, the reliability of .993. The statistics for data analysis were frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, Pearson's product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis were also employed. The findings were as follows: 1. The transformational leadership of school administrators under Buengkan Primary Educational Service Area Office overall was at the high level. 2. Learning organization of the schools under Buengkan Primary Educational Service Area Office overall was at the high level. 3. There was a positive relationship between the transformational leadership of school administrators and Learning organization of the schools under Buengkan Primary Educational Service Area Office at the high level. 4. The prediction equation for learning organization of the schools under Buengkan Primary Educational Service Area Office by using the transformational leadership of school administrators as a predictive variable 61.70 percent power, with the following equation. The predictive equation of raw scores: Y = 1.061 + 0.271(X3) + 0.262(X4) + .218(X2) The predictive equation of standard score: Z = 0.324(Z3) + 0.319(Z4) + .247(Z2)
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, องค์การแห่งการเรียนรู้Keyword
Transformational Leadership, Learning Organizationกำลังออนไลน์: 50
วันนี้: 1,088
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,287
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093