บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 340 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 189 คน และครูผู้สอน จำนวน 151 คน ในปีการศึกษา 2565 ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยคัดสรรทางการบริหาร มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (Independent Samples t -test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson's product - moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน 4. ประสิทธิผลการบริหารงานบุคลในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน 5. ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับสูง (r=0.889) 6. ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารของโรงเรียน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านงบประมาณ (X5) ด้านแรงจูงใจ (X3) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (X2) และด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร (X1) โดยอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 81.10 และมีความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์เท่ากับ ±0.229 7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนที่ควรได้รับการพัฒนามี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านงบประมาณ ควรมีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของบุคลากร มีการควบคุม ตรวจสอบ และการประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณ 2) ด้านแรงจูงใจ ควรมีการสร้างจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการปฏิบัติงาน มีการส่งเสริมความสามารถให้พัฒนาในด้านวิชาชีพ และสร้างแรงจูงใจให้ทำงานเป็นทีม 3) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรศึกษาแนวทางจากนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง มีการพัฒนาบุคลากรให้ใช้เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน และ 4) ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ผู้บริหารควรมี ความเป็นผู้นำ และสามารถแนะนำเพื่อให้แนวทางการทำงานแก่บุคลากรได้
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing selected administrative factors affecting the effectiveness of personnel administration in schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office, as perceived by administrators and teachers with different positions, school sizes, and work experience. The sample, obtained through multi-stage random sampling, comprised 340 participants, including 189 school administrators and 151 teachers working under Mukdahan Primary Educational Service Area Office, in the 2022 academic year. The data collection tools were sets of questionnaires on selected administrative factors and the effectiveness of personnel administration in schools with the reliability of 0.95 and 0.97, respectively, and structured interview forms. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The selected administrative factors of schools as a whole were at a high level. 2. The effectiveness of personnel administration in schools as a whole was at a high level. 3. The selected administrative factors of schools, as perceived by participants with different positions, school sizes, and work experience, as a whole, showed no differences. 4. The effectiveness of personnel administration in schools, as perceived by participants with different positions, school sizes, and work experience, as a whole, was not different. 5. The selected administrative factors and the effectiveness of personnel administration in schools had a positive relationship at the .01 level of significance with a high level (r=0.889). 6. The four aspects of selected administrative factors were able to predict the effectiveness of personnel administration in schools at the .01 level of significance with the predictive power of 81.10 percent comprising: Budget (x5), Motivation (x3), Information Technology (x2), and Administrators’ Leadership (x1), at the .05 level of significance with the standard error of estimate of ±0.229. 7. Guidelines for developing selected administrative factors affecting the effectiveness of personnel administration in schools involve four aspects needing improvement: 1) Budget. It is imperative to have allocated budgets to facilitate the professional development of personnel and enforce rigorous control, monitoring, and evaluation processes of expenditures; 2) Motivation covers establishing clear performance objectives that support individual professional growth, foster motivation, and promote teamwork; 3) Information Technology includes researching guidelines for applicable innovation and personnel development to use technology and information system to optimize task efficiency and effectiveness; and 4) Administrators’ Leadership, administrators must serve as leaders guiding personnel to ensure task completion.
คำสำคัญ
ปัจจัยคัดสรรทางการบริหาร, ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลKeyword
Selected Administrative Factors, Effectiveness of Personnel Administrationกำลังออนไลน์: 27
วันนี้: 1,068
เมื่อวานนี้: 1,313
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,477,465
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093