...
...
เผยแพร่: 21 ธ.ค. 2566
หน้า: 132-142
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 182
Download: 225
Download PDF
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
The Relationship between Information Technology Leadership of Administrators and Effectiveness of Academic Affairs Administration in Schools Under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
ญานิชศา อัครเนตร, สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, ทัศนา ประสานตรี
Author
Yanichsa Akkaranate, Sawat Pothiwat, Tatsana Prasantree

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน 2) วิเคราะห์ขนาดและทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน และ 3) แสวงหาทางเลือกการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ประชากรที่ใช้ศึกษาคือ บุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1,868 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 181 คน หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ 181 คน และครูผู้สอน จำนวน 1,506 คน จากทั้งหมด 181 โรงเรียน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของ Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างวิจัยครั้งนี้ จำนวน 323 คน วิธีสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เป็นแบบสอบถามข้อมูลการรับรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .48 ถึง .92 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 และแบบสอบถามข้อมูลการรับรู้เกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .33 ถึง .85 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อการศึกษาเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง .821 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ทางเลือกการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนในด้านที่ต้องนำไปหาแนวทางพัฒนา 4 ด้าน สรุปได้ดังนี้ 1) ด้านวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศคือผู้บริหารมีการวางแผนงาน การกำหนดความต้องการในอนาคต และการสังเคราะห์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษา แล้วนำไปปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ 2) ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการบริหารงาน คือผู้บริหารมีการส่งเสริม ให้ครูใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานรวมถึงการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการแนะแนวและการนิเทศการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษามีการวางแผนมีการดำเนินการและมีการติดตามนิเทศตาม กำหนดให้มีรูปแบบที่หลากหลายและเหมาะสมกับสถานศึกษา 4) ด้านการจัดการเรียนการสอน การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และการวัด และประเมินผล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาสนับสนุนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูล และการวัดประเมินผล

Abstract

The purposes of this research were: 1) to examine the level of information technology (IT) leadership of administrators and the effectiveness of academic affairs administration in schools, 2) to analyze the sizes and direction of the relationship between administrators’ IT leadership and the effectiveness of academic affairs administration in schools, and 3) to seek alternatives for developing administrators’ IT leadership and the effectiveness of academic affairs administration in schools. The population consisted of 1,868 school personnel, including 181 school administrators, 181 heads of the academic affairs administration division, and 1,506 teachers from 181 schools under Nakhon Phanom Primary Education Service Area Office 2 in the 2022 academic year. Using the Krejcie and Morgan formula, a sample of 323 participants was determined. The sampling technique used also included multi-stage random sampling. The instrument for data collection was a set of 5-point rating scale questionnaires on the perceived IT leadership of administrators with the discriminative power ranging from .48 to .92 and the reliability of .85, and the perceived effectiveness of academic administration in schools with the discriminative power ranging from .33 to .85 and the reliability of .93. The in-depth interview was also employed for a qualitative study. Statistics for data analysis were percentage, mean, Pearson's product-moment correlation coefficient, and t-test. The results of the research were as follows: 1. The administrators’ IT leadership was overall at a high level, as was the effectiveness of academic affairs administration in schools. 2. The relationship between administrators’ IT leadership and the effectiveness of academic affairs administration in schools was overall positive at a high level of .821 with the .01 level of significance. 3. The alternatives for developing the relationship between administrators’ IT leadership and the effectiveness of academic affairs administration in schools included four development guidelines that could be summarized as follows: 1) IT Vision. School administrators need to engage in work planning, anticipating future needs, synthesizing school IT, and putting them into practice in line with the visions, 2) Supporting IT Utilization in administration. School administrators should encourage teachers to use IT appropriately and efficiently in practices and teaching and learning management, 3) Educational Guidance and Supervision. School administrators should have plans, actions, and follow-up supervision based on diverse models suitable for educational institutions, and 4) Teaching and Learning Management, Learning Process Development, Measurement, and Evaluation. School administrators should support IT utilization in teaching and learning management, data analysis, and measurement and evaluation, and 5) Building Academic Strength. School administrators should incorporate IT into academic affairs administration, and 6) Research for Quality Development. School administrators should follow up and evaluate IT utilization in conducting research for developing educational quality in schools.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศ, ผู้บริหารโรงเรียน, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ

Keyword

Information Technology Leadership, School Administrators, Effectiveness of Academic Affairs Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093