...
...
เผยแพร่: 21 ธ.ค. 2566
หน้า: 41-50
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 220
Download: 257
Download PDF
ภาวะผู้นำของผู้บริหารในยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
Leadership of Administrators in the Digital Era Affecting the Effectiveness of School Administration under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon
ผู้แต่ง
โรจนศักดิ์ อินทนน, สุมัทนา หาญสุริย์, ทัศนา ประสานตรี
Author
Rotchanasak Intanon, Sumattana Hansuri, Thatsana Prasantree

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ ศึกษาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยมีจำนวน 348 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 100 คนครูผู้สอน จำนวน 248 คน จาก 45 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ เครจซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถามทั้งฉบับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.984 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.975 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (Independent Samples t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson's Product -Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารในยุคดิจิทัลและประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก 3. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน ตามความ คิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันโดยรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร โรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันโดยรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 5. ภาวะผู้นำของผู้บริหารในยุคดิจิทัลโดยรวม (Xt) กับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน โดยรวม (Yt) พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ .745 6. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 2 ด้าน ที่สามารถ พยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านการทำงานเป็นทีมและความร่วมมือ และด้านความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 61.90 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±0.27190 7. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เสนอแนะไว้ 2 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการทำงานเป็นทีมและความร่วมมือ 2) ด้านความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing the leadership of administrators in the digital era affecting the effectiveness of school administration under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon, as perceived by administrators and teachers with different positions, school sizes, and work experience. The sample size was determined using Krejcie and Morgan’s table and multi-stage random sampling, which yielded a total of 348 participants consisting of 100 school administrators and 248 teachers from 45 schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon, in the 2022 academic year. The tools for data collection comprised a set of questionnaires on the leadership of administrators in the digital era with discrimination values ranging from 0.543 to 0.804 and the reliability of 0.984, and the effectiveness of school administration with discrimination values ranging from 0.628-0.870 and the reliability of 0.975, and structured interviews forms. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The leadership of administrators in the digital era was overall at a high level. 2. The effectiveness of school administration was overall at a high level. 3. The comparison result revealed that the leadership of administrators in the digital era, classified by different positions, school sizes, and work experience, showed a difference at the .01 level of significance overall. 4. The comparison result revealed that the effectiveness of school administration classified by positions, school sizes, and work experience, varied significantly at the .01 level of significance. 5. The leadership of administrators in the digital era and the effectiveness of school administration had a positive relationship at the .01 level of significance with a high level of correlation (RXtYt = 0.745). 6. The two aspects of the leadership of school administrators in the digital era, consisting of Teamwork and Cooperation, and Creativity and Innovation, could predict the effectiveness of school administration at the .01 level of significance with the predictive power of 61.90 percent. 7. The proposed guidelines for developing the leadership of school administrators in the digital era affecting the effectiveness of school administration consisted of two aspects: Teamwork and Cooperation, and Creativity and Innovation.

คำสำคัญ

ภาวะผู้ของผู้บริหารในยุคดิจิทัล, ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน

Keyword

Leadership of School Administrators in the Digital Era, Effectiveness of School Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093