บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับ เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ ศึกษาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 327 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 99 คน และครูผู้สอน จำนวน 228 คน วิธีสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนก 0.41 – 0.89 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 และประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก 0.53 – 0.84 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t - test) ชนิด Independent Samples การทดสอบเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม อยู่ในระดับมาก 2. พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมาก 4. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน โดยรวม อยู่ในระดับสูง (rxy = 0.794) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน โดยรวมได้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการติดต่อสื่อสาร (X2) ด้านการสร้างแรงจูงใจ (X1) และด้านการตัดสินใจ (X3) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน ได้แก่ ด้านการกำหนดเป้าหมาย (X4) โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 80.00 7. แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน เสนอแนะไว้ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการสร้างแรงจูงใจ ผู้บริหารควรมีการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ครูและบุคลากรในโรงเรียน 2) ด้านการติดต่อสื่อสาร ควรมีระบบการสื่อสารที่มีความเที่ยงตรง รวดเร็ว ชัดเจน และเพียงพอต่อการตัดสินใจ 3) ด้านการตัดสินใจ ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และ 4) ด้านการกำหนดเป้าหมาย ผู้บริหารที่ดีควรมีเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อให้การปฏิบัติงานสำเร็จและไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, and determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing administrative behaviors of school administrators affecting the effectiveness of school administration. The samples, obtained through multi-stage random sampling, consisted of a total of 327 participants including 99 school administrators and 228 teachers in schools under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 1 in the 2021 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires on administrative behaviors of school administration with the reliability of 0.98 and the discriminative power ranging from 0.41 to 0.89, and the effectiveness of school administration with the reliability of 0.98 and the discriminative power ranging from 0.53 to 0.84. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, one–way analysis of variance (ANOVA) F – test, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The administrative behaviors of school administrators were overall at a high level. 2. The administrative behaviors of school administrators, classified by positions and work experience, were different at the .01 level of significance overall, but no significant differences were found in school sizes overall. 3. The effectiveness of school administration was overall at a high level. 4. The overall effectiveness of school administration, classified by positions and work experience, was not different, but in terms of school sizes, there was a difference at the .05 level of significance. 5. The administrative behaviors of school administrators and the effectiveness of school administration had a high level of positive relationships at the .01 level of significance overall. 6. The administrative behaviors of school administrators encompassed four aspects. Among the four aspects examined, three aspects, namely communication (X2), motivation (X1), and decision-making (X3), could predict the effectiveness of schools under SESAO Sakon Nakhon at the .01 level of significance. Only goal formulation (X4) demonstrated statistical significance at the .05 level. 7. The guidelines for developing administrative behaviors of school administrators affecting the effectiveness of school administration, encompassed four aspects: 1) Motivation entails the creation of morale among teachers and school personnel, 2) Communication, an effective communication system must be established, and characterized by accuracy, speed, and adequacy to facilitate decision-making, 3) Decision-making, administrators should provide opportunities for teachers and personnel to express their opinions and participate in decision-making processes, and 4) For Goal formulation, competent administrators should set clear goals to enhance work performance and achieve predetermined goals.
คำสำคัญ
พฤติกรรมการบริหาร, ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนKeyword
Administrative Behaviors, Effectiveness of School Administrationกำลังออนไลน์: 32
วันนี้: 259
เมื่อวานนี้: 1,360
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,481,544
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093