บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียน 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน 3) เพื่อติดตามผลการพัฒนาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนบ้านติ้วราษฎร์อุทิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร กลุ่มเป้าหมายในการทำวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยจำนวน 6 คน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน คือการวางแผน (Planning) การปฏิบัติการ (Action) การสังเกตการณ์ (Observation) การสะท้อนกลับ (Reflection) ดำเนินการ 2 วงรอบ โดยมีกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยจำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการนิเทศ แบบประเมินเค้าโครงการทำวิจัยในชั้นเรียน และแบบประเมินการเขียนรายงานการทำวิจัยในชั้นเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงข้อค้นพบที่สำคัญและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการนำเสนอการวิจัยในรูปแบบตารางและพรรณนาวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ด้านสภาพ การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนบ้านติ้วราษฎร์อุทิศ พบว่า ครูส่วนมากไม่ทำวิจัยในชั้นเรียน ครูทำวิจัยหน้าเดียวเท่านั้น ครูยังขาดความตระหนักในเรื่องการทำวิจัย การทำวิจัยเป็นเรื่องที่ยุ่งยากทำให้ขาดความมั่นใจ ครูต้องสอนควบชั้นเรียนทำให้ไม่มีเวลาทำวิจัยในชั้นเรียน ขาดการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ด้านปัญหา พบว่า ครูขาดความรู้ ความเข้าใจ ขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียน ขาดแหล่งข้อมูลให้ค้นคว้า ครูขาดทักษะในการเขียนรายงานการทำวิจัยในชั้นเรียน ขาดความกระตือรือร้น ขาดงบประมาณสนับสนุนให้ครูทำการวิจัย และขาดการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง
2. แนวทาง การพัฒนาศักยภาพครูในการทำการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านติ้วราษฎร์ ในวงรอบที่ 1 ประกอบด้วย 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศภายใน และ ในวงรอบที่ 2 ใช้แนวทางการพัฒนาโดยการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) ในขั้นตอนการสรุปผล และการเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียน
3. ผลการติดตามการพัฒนาศักยภาพครูในการทำการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านติ้วราษฎร์อุทิศ พบว่า ผู้ร่วมวิจัย จำนวน 6 คน มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับขั้นตอน และกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนเพิ่มขึ้นในระดับมาก ผู้ร่วมวิจัยเกิดทักษะ และมีความมั่นใจ สามารถดำเนินการทำวิจัยในชั้นเรียนได้ถูกต้อง ตามขั้นตอนและเขียนรายงานการวิจัยแบบเป็นทางการได้ ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมมาก ครูมีผลงานการวิจัยในชั้นเรียนคนละ 1 เรื่อง
Abstract
The purposes of this research were to 1) investigate the conditions and problems of conducting classroom research, 2) establish the guidelines for developing teachers’ potential in conducting classroom research, and 3) follow up the development of teachers in conducting classroom research at Ban Tio Ratuthit School under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area. The research employed a four stage of planning, action, observation and reflection. The target group comprised the researcher and six co-researchers. The research instruments were a test, an observation form, an interview form, a supervision form, a project assessment form and an assessment form of classroom research report. The analysis of data was done by using content analysis. The statistics used in analyzing collected data were mean, percentage and standard deviation. The data was presented in the form of tables and descriptive analysis.
The findings were as follow:
1. The conditions in conducting classroom research of the teachers at Ban Tio Ratuthit School under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area revealed that most of the teachers conducted limited classroom research and tended to conduct a one-page research. The results also indicated a lack of awareness in conducting research among participating teachers. Teachers also found that conducting research was complicated. Other reasons which hindered the teacher from conducting research were a lack of confidence, insufficient time, heavy workloads, and discontinuous evaluation. The problems showed that teachers encountered a lack of knowledge, understanding in steps of conducting classroom research and skills in writing classroom research reports. In addition, the participating teachers did not show great enthusiasm for conducting classroom research. There were some issues identified in the study, including limited resources, less funding and discontinuity of supervision.
2. The guidelines for developing teachers’ potential in conducting classroom research at Ban Tio Ratuthit School under The Office of Mukdahan Primary Educational Service Area involved: In the first spiral, the means employed were a workshop and an internal supervision. In the second spiral, a coaching supervision was applied when drawing conclusions and writing reports on classroom research.
3. The effects after the teachers’ potential development in conducting classroom research indicated that all six participating teachers gained better knowledge and understanding on the steps and processes of conducting classroom research at a very good level. In addition, the teacher also improved individual skills and gained confidence in conducting classroom research. Consequently, the teachers were able to produce at least one written report on classroom research which met the required assessment at a high level.
คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพครู, การวิจัยในชั้นเรียนKeyword
Teachers’ Potential Development, Classroom Researchกำลังออนไลน์: 22
วันนี้: 358
เมื่อวานนี้: 1,728
จำนวนครั้งการเข้าชม: 63,363
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093