...
...
เผยแพร่: 27 มี.ค. 2566
หน้า: 328-338
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 269
Download: 223
Download PDF
แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม
Guidelines For Educational Administration According to The Philosophy Of Sufficiency Economy Muang Maha Sara Kham Municipality School
ผู้แต่ง
ธิดารัตน์ มาตย์แท่น, อุรสา พรหมทา
Author
Thidarat Mattan, U-rasa Promta

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู จำนวน 179 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามวิธีการของลิเคิร์ท มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.26 - 0.67 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92  ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินแนวทาง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า PNI (Modified Priority Needs Index) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์และแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม พบว่า 1.1 สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยรวมพบว่ามีสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก 1.2 สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยรวมพบว่า มีสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมากที่สุดมาก 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์และแนวทางการพัฒนา โดยแนวทางการพัฒนาสรุปสาระสำคัญของแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 2.1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา คือ ควรกำหนดนโยบาย โครงการกิจกรรมนำสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนเน้นความร่วมมือและเครือข่ายการพัฒนาทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา 2.2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ ควรบูรณาการการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานและหลักสูตรท้องถิ่นให้สอดคล้องกับมาตรฐาน และตัวชี้วัดการเรียนรู้ให้เป็นเรื่องเดียวกัน 2.3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน คือ ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงให้เกิดทักษะการเรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบัน 2.4 ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา คือ ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการบูรณาการการพัฒนาการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการพัฒนาตนเอง การศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมให้ครูเป็นแบบอย่างที่ดี 2.5 ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ คือ ควรติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและตัวชี้วัด จัดนิทรรศการหรือเผยแพร่ผลการปฏิบัติงาน ยกย่อง เชิดชูเกียรติบุคคลตัวอย่างปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

This research was rationale for the study of all levels of conditions and desirable conditions of the educational administration according to the principles of sufficiency economy and the study of educational administration according to the principles of Sufficiency Education. The research was divided into 2 phases as follows Phase 1 Current and desirable conditions and guidelines for the development of educational administration. The population is school administrators, teachers of 179 people. The research instruments were Opinion questionnaire, was a 5-level valuation scale based on the Li Curt method., discrimination between 0.26 - 0.67 and reliability at 0.92, Phase 2 Guidelines for the development of educational administration according to the principle of sufficiency. experts of 9 people. The statistics interview questionnaire for data analysis, namely content analysis, percentage, mean, and standard deviation, and Modified Priority Needs Index. The research results were found that; 1. Current and desirable conditions and guidelines for the development of educational administration. According to the philosophy of sufficiency economy The schools under Muang Maha Sara kham Municipality found that;  1.1 Current level of educational administration according to the philosophy of sufficiency economy Overall, the school under Muang Maha Sara kham Municipality found that the present condition of the educational administration according to the philosophy of sufficiency economy was at a high level (m= 4.50, s= 0.67) 1.2 Desirable level of educational administration according to economic philosophy Sufficiency of schools under Muang Maha Sara kham Municipality in general found that the desirable condition of the administration. Provide education according tothe philosophy of sufficiency economy at the highest level (m= 4 .54, s= 0 .63) 2. Guidelines for the development of educational administration according to the principle of sufficiency of schools under the Maha Sara kham Municipality. It consists of principles, objectives and development guidelines. Development Guidelines: Summarize the essence of the development approach as follows. 2.1 School managements to set a policy Project lead activities Clear practices emphasize cooperation and network development in both educational and non-educational institutions. 2.2 Curriculum and learning activities should integrate the learning management according to The philosophy of sufficiency economy is aligned with the basic education curriculum and the local curriculum. With standards and learning metrics to be the same. 2.3 Learner development activities should be organized learning activities that focus on students to practice. Practical learning skills based on aptitudes and interests. Keep up with current economic and social changes. 2.4 Personnel development of educational institutions is to encourage teachers and personnel to conduct research in The class was used to integrate educational development according to the philosophy of sufficiency economy. Organize a forum to exchange knowledge and teachers to be a good role model for development. 2.5 The outcome and the picture of success should be monitored and evaluated in accordance with Standards and indicators, organize exhibitions or disseminate performance, honor exemplary people Continuous improvement and sustainable Development. The results of the evaluation of the educational management development approach according to the philosophy of sufficiency economy School under Muang MahaSarakham Municipality According to experts' opinions, It was found that the consistency was most appropriate (\upsilon = 4.56, \sigma= 0.59) and possible values. (\upsilon = 4.53, \sigma= 0.57)

คำสำคัญ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, แนวทางการพัฒนา

Keyword

Sufficiency Economy Philosophy, Development Guidelines

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093