บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค (TGT) 2) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค (TGT) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดงหลวง จำนวน 28 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค (TGT) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples) ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค (TGT) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค (TGT) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this research were 1) to compare mathematics learning achievement of Prathom Suksa 4 students before and after learning. By using an open approach to learning management (Open Approach) together with a collaborative learning technique (TGT) 2) to compare skills in solving mathematical problems before and after school. of Prathomsuksa 4 students by using an open approach to learning management in conjunction with a collaborative learning technique (TGT). The sample was 28 Prathomsuksa 4 students at Ban Dong Luang School. People semester 1 Academic Year 2022 was obtained by purposive sampling. The research tools consisted of 1) Learning Management Plan with Open Approach and Collaborative Learning Techniques (TGT). 2) Multiple-choice learning achievement test, 4 options 3) Multiple-choice problem solving test, 4 options Statistics used in data analysis were percentage, mean, and standard deviation. and t-test Dependent Samples. The results showed that 1. Learning achievement in mathematics of Prathomsuksa 4 students using an open approach and Cooperative Learning Techniques (TGT) after learning was higher than before. Statistically significant at the .05 level. 2. Mathematics problem-solving skills of Prathom Suksa 4 students using Open Approach and Cooperative Learning Techniques (TGT) after school were higher than before. Statistically significant at the .05 level
คำสำคัญ
ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, การสอนแบบเปิด, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค (TGT)Keyword
Mathematical problem solving skills, Open Approach, technical cooperative learning (TGT)กำลังออนไลน์: 81
วันนี้: 889
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,475
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093