บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 จำนวน 338 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 40 คน และครูผู้สอน จำนวน 298 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi–Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .362 - .632 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .756 และด้านที่ 2) ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .365-.559 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .735 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, F-test (One-way ANOVA) ใช้ค่าสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 5. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน กับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. การวิจัยในครั้งนี้ ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 จำนวน 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา สนับสนุนให้บุคลากรในสังกัดเข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาต่อ กระตุ้นเตือน แนะนำเรื่องการศึกษาหาความรู้ในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับภาระงานหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ ให้ขวัญกำลังใจ ให้รางวัล 2) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ควรมีรางวัล มีโบนัส มีสิ่งตอบแทน เช่น การไปศึกษาดูงาน พาไปพักผ่อนเพื่อให้เกิดผลสำเร็จให้ความดีความชอบ หรือการยกย่องประกาศเกียรติคุณ 3) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ผู้บริหารจะต้องพัฒนาศักยภาพของครูให้สูงขึ้น โดยเปิดโอกาสให้ครูได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ 4) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ผู้บริหารต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างหรือเป็นโมเดลสำหรับครู หรือบุคลากร จะเป็นที่น่ายกย่อง เคารพนับถือ ไว้วางใจ และทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความภาคภูมิใจ
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship between transformational leadership of school administrators and teacher performance effectiveness, and establish guideline for transformational leadership development that is related to the effectiveness of teachers. The sample group in this research comprised a total of 338 participants in the academic year 2021, including 40 school administrators and 298 teachers. The tools for data collection were two sets of 5 rating scale questionnaires containing transformational leadership of school administrators with the discriminative power between .362 to .632 and the reliability of .756 and teacher performance effectiveness with the discriminative power between .365 to .559 and the reliability of .735 The statistics for data analysis are percentage, mean, standard deviation, One-way ANOVA, and Pearson’s Product Moment Correlation Analysis. The findings were as follows: 1. Transformational leadership of school administrators According to the opinions of the school administrators and teachers, the overall level was at a high level. 2. The effectiveness of the teacher's performance. According to the opinions of the school administrators and teachers, the overall level was at a high level. 3. Transformational leadership of school administrators Based on the opinions of school administrators and teachers, classified by position, school size, overall were not different. As for the overall operational experience, there was a statistically significant difference at the .01 level. 4. The effectiveness of the teacher's performance Based on the opinions of school administrators and teachers, classified by position, school size, and work experience. Overall, no difference 5. Relationship between transformational leadership of school administrators There was a statistically significant positive correlation between teachers' performance in schools under the Udon Thani Primary Educational Service Area Office 3 at the .01 level. 6. This research the guideline for transformational leadership development that is related to the effectiveness of teachers in schools under the Office of Udon Thani Primary Educational Service Area 3 was presented in 4 areas as follows: 1) Intellectual stimulation Encouraging personnel in the subordinate to attend training, seminars, continuing education, encouraging them to advise them on regular study of things related to their duties and responsibilities. give encouragement, reward 2) In terms of inspiration, there should be rewards, bonuses, and rewards such as going to work. Take it to rest to achieve success. give favor or commendation 3) In regard to individuality Administrators must develop teachers' potential to be higher. by giving teachers the opportunity to learn new things 4) Ideological influence Administrators must act as a role model or model for teachers or personnel to be admired, respected, trusted and make subordinates to be proud.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร, ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูKeyword
School Administrators’ Transformational Leadership, Effectiveness of Teacher Performanceกำลังออนไลน์: 84
วันนี้: 1,876
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,075
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093