บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และ 2) หาแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 248 คน ที่ได้มาจากการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การหาแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยการจัดสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ด้านปัจจัยจูงใจ พบว่า มีสภาพแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านปัจจัยค้ำจุน พบว่า มีสภาพแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก 2. แนวทางทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า ด้านปัจจัยจูงใจ ควรดำเนินการดังนี้ สถานศึกษาควรส่งเสริม สนับสนุน และมอบหมายงานที่ตรงกับความรู้ความสามารถของครู เปิดโอกาสให้ครูได้ตัดสินใจแก้ปัญหางานได้อย่างอิสระ ส่วนด้านปัจจัยค้ำจุน ควรดำเนินการดังนี้ สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการกำหนดนโยบายและแผนการปฏิบัติงาน ส่งเสริมให้ครูทำงานร่วมกันเป็นทีม และมีการพิจารณาการขึ้นเงินเดือน ค่าตอบแทน กองทุน สวัสดิการต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
Abstract
This research aimed to 1) study the state of teachers working motivation in the Educational Opportunity Expansion Schools and 2) finding guidelines for developing working motivation of teachers in the Educational Opportunity Expansion Schools. The research was conducted into 2 steps: 1) studying the state of teachers working motivation in the Educational Opportunity Expansion Schools with the sample was 248 teachers obtained by using Krejcie & Morgan formula. The instrument was 5 rating scales questionnaire regarding the teachers working motivation with a reliability of 0.94. Data was analyzed by mean and standard deviation. 2) finding guidelines for developing working motivation of teachers in the Educational Opportunity Expansion Schools was conducted by focus group discussion of 7 experts. The instrument was the recording form. Data was analyzed by content analysis. The results were as follows: 1. the state of teachers working motivation in the Educational Opportunity Expansion Schools in the aspect of Motivating Factors found that was the high level the aspect of Maintenance Factors was the high level 2. the guidelines for developing working motivation of teachers in the Educational Opportunity Expansion Schools found that the aspect of Motivating Factors should proceed as follows: the school should encourage, support and assign tasks corresponding with the teacher's knowledge and abilities, provide opportunities for teachers to independently make decisions on problem solving works. The aspect of Maintenance Factors should proceed as follows: the school should encourage teachers to participate in planning of policies setting and action plans, encourage teachers to work together as a team and considered salary increase, compensation, fund, welfare appropriately and fairly.
คำสำคัญ
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาKeyword
Teachers Working Motivation, Educational Opportunity Expansion Schoolsกำลังออนไลน์: 31
วันนี้: 829
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,415
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093