...
...
เผยแพร่: 27 มี.ค. 2566
หน้า: 276-285
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 337
Download: 912
Download PDF
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองสองห้องหนองแห้วโนนศรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
The Development Model to Strengthen Teachers Learning Management for Encouraging the Students Critical Thinking in Bannongsonghongnonghaewnonsri School Udonthani Primary Educational Service Area Office 3
ผู้แต่ง
ศรีนวล ศรีหริ่ง
Author
SrinuaL Sriring

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียน เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ด้านการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ วิธีการพัฒนาและความต้องการจำเป็นการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สพฐ. ระยะที่ 3 พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียน และ ระยะที่ 4 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สพฐ. จำนวน 300 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างและแบบวัดสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า PNImodified และ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดด้านการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียน พบว่า มี 4 องค์ประกอบ จำนวน 54 ตัวชี้วัด ยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  2. สภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด วิธีการเสริมสร้าง ได้แก่ 1) การศึกษาดูงาน 2) การฝึกอบรม 3) การสร้างกลุ่ม PLC) 4) การพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 5) การนิเทศแบบมีส่วน 6) การศึกษาด้วยตนเอง 3. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียน ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ผู้เรียน 2) การวิเคราะห์หลักสูตร 3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) การวัดและประเมินผล ส่วนที่ 2 คู่มือการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียน ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) โครงสร้าง 5) กิจกรรมการพัฒนา 6) การวัดและประเมินผล รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่าวมีวิจารณญาณ มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการนำการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียน ไปใช้ พบว่า 1) ผลการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของครูมีคะแนนก่อนพัฒนาได้คะแนนเฉลี่ย 10.33 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 51.65 และมีคะแนนหลังการพัฒนาได้คะแนนเฉลี่ย 18.50 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 92.50 2) ผลการประเมินพฤติกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนโดยรวมหลังการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียน มีความพึงพอใจทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

This research aimed to investigate the model strengthen learning management of teachers to encourage critical thinking of students Critical Thinking in Bannongsonghongnonghaewnonsri School Udonthani Primary Educational Service Area Office 3. The design of this study was research and development (R & D) which comprised of 4 phases. Phase 1 was the study related to the elements and indicators of learning management of teachers to encourage critical thinking of students. Phase 2 was the study related to the current situation and desired situation of learning management of teachers to encourage critical thinking of students small elementary school under Office of the Basic Education Commission. Phase 3 was the development model to strengthen teachers learning management for encouraging the students critical thinking and Phase 4 was the implementation of the model program to strengthen learning management of teachers to encourage critical thinking of students. The sample was consisted of 300 school administrators and teachers under Office of the Basic Education Commission who were selected by using table of Multi-Stage Random Sampling. The instruments used to collect data comprised of questionnaire, evaluation form, unstructured interview and measurement form. The statistics used to analyze data were mean, average, standard deviation, modified priority needs index (PNImodified) and t-test. The results of the research showed as follows 1. The elements and indicators of learning management of teachers to encourage critical thinking of students were 4 elements and 54 indicators that the appropriateness shown in the most level assured by the experts. 2. The current situation shown in more level whereas the desired situation shown in the most level. The way to strengthen learning management consisted of 1) Study tour 2) Training 3) Building a professional learning community PLC) 4) School-based development 5) Participant supervision 6) Self-study. 3. The development of designed model to strengthen learning management of teachers to encourage critical thinking of students consisted of 2 parts, parts 1 model to strengthen learning management of teachers to encourage critical thinking of students and pasts 2 handbook of the model for developing a teachers learning management model to promote critical thinking for students consists of 1) principles of the model 2) objectives 3) Content 4) structure 5) development activities 6) Measurement and evaluation and assessment. The development model to strengthen teachers learning management for encouraging the students critical thinking is propriety and feasibility shown in highest level 4. The results of model implementation shown that 1) the results of knowledge testing related to learning management of teachers to encourage critical thinking of students before the development, the average was 11.33 or 51.65 as percentage, whereas after the development, there was 18.50 of the average or 92.50 as percentage. 2) The results of learning management of teachers to encourage critical thinking behavior assessment after the development shown in high level., when considering in each aspect revealed that all aspects were shown in highest level. 3) The results of satisfaction evaluation shown that all aspects were shown in high level.

คำสำคัญ

การจัดการเรียนรู้, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

Keyword

Learning Management, Critical Thinking

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093