บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 และหาแนวทางพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 347 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 81 คน และครูผู้สอน จำนวน 266 คน จาก 81 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา มีอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.495 - 0.887 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.931 และด้านที่ 2 ประสิทธิผลของสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.473 - 0.869 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.958 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการใช้การวิเคราะห์ t-test, F-test (One-way ANOVA) ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation) ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 3. การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 4. ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามขนาดของโรงเรียนไม่แตกต่างกัน 5. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ควรได้รับการพัฒนา มี จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านการร่วมมือ ผู้วิจัยได้นำเสนอไว้ดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างกิจกรรมสานสัมพันธ์ให้ครูได้เกิดการทำกิจกรรมร่วมกัน 2) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนควรร่วมกันทำงานเต็มความ สามารถเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่องค์กรได้ตั้งไว้ให้สำเร็จร่วมกัน 3) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนควรได้พูดคุยกันหรือปรึกษาหารือกันอย่างเปิดเผย
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship between school administrators’ conflict management and school effectiveness under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, and establish guidelines for developing the relationship between school administrators’ conflict management and school effectiveness. The sample, obtained through multi-stage random sampling, were 81 school administrators, and 266 teachers, yielding a total of 347 participants from 81 schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 in the academic year 2021. The research instrument for data collection was a set of 5-level scale questionnaires containing two aspects: Conflict Management with the discriminative power from 0.495 to 0.887 and the reliability of 0.931, and School Effectiveness with the discriminative power from 0.473 to 0.869 and the reliability of 0.958. Statistics for data collection were percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test, One-Way ANOVA, and Pearson’s product-moment correlation coefficient. The findings were as follows: 1. The school administrators’ conflict management, as perceived by participants, overall and individual aspects, was at a high level. 2. The school effectiveness, as perceived by participants, overall and individual aspects, was at a high level. 3. The overall school administrators’ conflict management, as perceived by participants from different positions, work experience, and school sizes, showed no differences. 4. The overall school effectiveness, as perceived by participants with different positions was different at the .05 level of significance. In terms of work experience, there was a difference at the .01 level of significance, whereas there was no difference in terms of school sizes. 5. The school administrators’ conflict management and school effectiveness had a positive relationship at the .01 level of significance. 6. One aspect of school administrators’ conflict management, namely cooperation, requires improvement. As a result, the researcher has provided suggestions as follows: 1) School administrators should create activities to foster relationships to empower teachers to work collaboratively, 2) School administrators and teachers should work together to achieve mutually agreed-upon organizational goals, and 3) School administrators and teachers should communicate with one another or have open discussions.
คำสำคัญ
การบริหารความขัดแย้ง, ประสิทธิผลของสถานศึกษาKeyword
Conflict Management, School Effectivenessกำลังออนไลน์: 81
วันนี้: 2,086
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,285
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093