บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษา เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน และหาแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มงาน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 350 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน 52 คน หัวหน้ากลุ่มงาน 143 คน และครูผู้สอน 155 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Muti-Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก .650-.873 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .973 แบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนก .522-.909 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .990 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ F-test แบบวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มงานและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 4. การบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มงาน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 5. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับประสิทธิผลในการบริหารงานโรงเรียน มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง (rXY=.891) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. แนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 เสนอแนะไว้ 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ด้านการไว้วางใจกัน ด้านความมีอิสระในการปฏิบัติงานด้านการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของงานร่วมกัน และด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
Abstract
The purposes of this research were to investigate, compare the relationship between participatory management and the effectiveness of school administration, and establish guidelines for developing participatory management that had a relationship with the effectiveness of school administration. The sample group, obtained through multi-stratified random sampling, consisted of 52 school administrators, 143 task group heads, and 155 teachers working under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2021, yielding a total of 350 participants. The Krejcie and Morgan table was also applied for determining the sample size. The tools for data collection were sets of 5-point scale questionnaires, comprising a set of questionnaires on participatory management with the discriminative power values ranging from .634 to .873 and the reliability of .973, and a set of questionnaires on the effectiveness of school administration with the discriminative power values ranging from .522 to .909 and the reliability of .990, and a structured interview form examining guidelines for developing participatory management that had the relationship with the effectiveness of school administration. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA, and Pearson’s product-moment correlation coefficient. The findings were as follows: 1. The participatory management was overall at a high level. 2. The effectiveness of school administration was overall at a high level. 3. The participatory management as perceived by participants, classified by positions and school sizes, was different at the .01 level of significance overall. Overall, there was no difference in terms of work experience. 4. The effectiveness of school administration as perceived by participants, classified by positions and school sizes, was different at the .01 level of significance overall. In terms of work experience, there was no difference overall. 5. The participatory management and the effectiveness of school administration had a relationship at a high level (rXY=.891) with the .01 level of significance. 6. The proposed guidelines for developing participatory management and the effectiveness of school administration consisted of six aspects: 1) Participation in School Assessment 2) Participation in Benefits 3) Trusting 4) Freedom to Work 5) Setting Mutual Task Goals and Objectives and 6) Decision-Making Participation
คำสำคัญ
การบริหารแบบมีส่วนร่วม, ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนKeyword
Participatory Management, Effectiveness of School Administrationกำลังออนไลน์: 74
วันนี้: 1,984
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,183
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093