บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ ศึกษาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการยกระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในยุค 4.0 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 329 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 67 คน และครูผู้สอน จำนวน 262 คน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค 4.0 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .9818 และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .9841 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบที (t - test) ชนิด Independent Samples การทดสอบเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค 4.0 และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค 4.0 และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวม มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค 4.0 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์และอุดมการณ์ด้านวิชาการ ด้านการพัฒนางานด้านวิชาการสอดคล้องกับยุค 4.0 ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และด้านการติดต่อสื่อสารและใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการจัดการศึกษา 6. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในยุค 4.0 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์และอุดมการณ์ด้านวิชาการ 2) ด้านการพัฒนางานด้านวิชาการสอดคล้องกับยุค 4.0 3) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและ 4) ด้านการติดต่อสื่อสารและใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการจัดการศึกษา
Abstract
The purposes of this research were to: examine, compare, identify the predictive power, and establish the guidelines for developing the instructional leadership of Administrators for 4.0 era affecting the effectiveness of academic affairs administration in School under the secondary educational service area office Nakhon Phanom. The samples, obtained through Stratified Random Sampling, consisted of a total of 329 participants including 67 school administrators and 262 teachers working in schools under the secondary educational service area office Nakhon Phanom in the 2020 academic year. The research instrument included a five point - rating scale questionnaire concerning the instructional leadership of administrators for 4.0 era with the reliability of 0.9818 and the effectiveness of academic affairs administration in school with the reliability of 0.9841. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, t – test (Independent Samples), One–way ANOVA, and Pearson’s product-moment correlation coefficient. and Stepwise Multiple Regression Analysis. The findings were as follows: 1. The instructional leadership of administrators for 4.0 era and the effectiveness of academic affairs administration in school by the school administrators and teachers, as whole was at a high level. 2. The instructional leadership of administrators for 4.0 era by the school administrators and teachers, classified by status, school sizes and work experience as a whole were not different. 3. The effectiveness of academic affairs Administration in school-by-school administrators and teachers, classified by status, school sizes and work experience as a whole were not different. 4. The instructional leadership of Administrators for 4.0 era and the Effectiveness of academic affairs Administration in School by the school administrators and teachers, had a positive relationship at a statistical significance level of .01 5. The instructional leadership of administrators for 4.0 era had the predictive power toward the effectiveness of academic affairs administration, at a statistical significance level of .01, as academic vision and ideology, curriculum management to keep pace with changes, the development of academic work in line with the 4.0 era, and in communication and use of technology to promote education management 6. The researcher proposed the guidelines for improving the instructional the instructional leadership of administrators for 4.0 era under the secondary educational service area office Nakhon Phanom. It consists of 4 aspects as follows: 1) academic vision and ideology, 2) the development of academic work in line with the 4.0 era, 3) curriculum management to keep pace with changes, and 4) in communication and use of technology to promote education management
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทาวิชาการของผู้บริหารในยุค 4.0 ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการKeyword
Instructional Leadership For 4.0 Era, Effectiveness Academic Administrationกำลังออนไลน์: 28
วันนี้: 923
เมื่อวานนี้: 1,313
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,477,320
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093