บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา และ 3) วิเคราะห์การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู ตัวอย่างที่ใช้ คือ ครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จำนวน 297 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย มีค่าความตรงด้านเนื้อหา เท่ากับ 0.67 -1.00 ค่าความเที่ยงด้านการใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา และด้านขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย อำนาจอ้างอิง อำนาจบังคับ อำนาจความเชี่ยวชาญ อำนาจตามกฎหมาย และอำนาจให้รางวัล ตามลำดับ 2. ระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับมาก ประกอบด้วย สวัสดิการและความมั่นคงในงาน ความสำเร็จและก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน สภาพแวดล้อมการปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์ในหน่วยงาน และนโยบายและการบริหาร ตามลำดับ 3. การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ อำนาจตามกฎหมาย (X3) อำนาจให้รางวัล (X2) อำนาจบังคับ (X1) และอำนาจความเชี่ยวชาญ (X4) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 61.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสมการวิเคราะห์การถดถอย คือ Y tot = 1.72 + 0.25 (X3) + 0.14 (X2) + 0.13 (X1) + 0.11 (X4)
Abstract
This research aimed to: 1) study the level of administrators’ power usage; 2) study the level of teachers’ morale; and 3) analyze the administrators’ power usage affecting teachers’ morale in educational institutions under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2. The sample was 275 teachers in educational institutions under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2, derived by proportional stratified random sampling as distributed by district. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher with the content validity between 0.67-1.00. The internal consistency reliability coefficients for the administrators’ power usage and the teachers’ morale were 0.98. Data were analyzed with frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression. The research results were as follows: 1. Overall and in specific aspects, the administrators’ power usage was at a high level. The aspects were referent power, coercive power, expert power, legitimate power, and reward power, respectively. 2. Overall, the teachers’ morale was at a high level and in specific aspects was at a highest level and high level. The aspects were welfare and job security, success and work achievement, working condition, organization relationship, and policy and administration, respectively. 3. The administrators’ power usage in the aspects of legitimate power (X3), reward power (X2), coercive power (X1) and expert power (X4) together predicted the affecting teachers’ morale at the percentage of 61.20 with statistical significance level of .01. The regression equation was Y tot = 1.72 + 0.25 (X3) + 0.14 (X2) + 0.13 (X1) + 0.11 (X4).
คำสำคัญ
พลังอำนาจ, ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน, ประถมศึกษาKeyword
Administrator’s Power, Teacher’s Morale, Primary Educationกำลังออนไลน์: 25
วันนี้: 953
เมื่อวานนี้: 1,313
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,477,350
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093