บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 2) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 4) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร และครู ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 3 สังกัด สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติปีการศึกษา 2563 จำนวน 205 รูป/คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 และ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวก (rxy=0.86) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยี ปัจจัยด้านผู้ปกครองและชุมชน ปัจจัยด้านอาคารสถานที่ และปัจจัยด้านครูผู้สอน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณสะสมเท่ากับ 0.87 สามารถพยากรณ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนได้ร้อยละ 75 สร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Ý = 0.06 + 0.35(X6) + 0.20(X3) + 0.18(X5) + 0.16(X2) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.38(Z6) + 0.19(Z3) + 0.18(Z5) + 0.14(Z2)
Abstract
The objectives of this research were 1) to study the level of the factors affecting academic administration of schools 2) to study the level of academic administration of schools 3) to study the relationship between the factors affecting with academic administration of schools 4) to predicting equation of academic administration of schools. The sample group consisted of 205 monk/ people, administrators and teachers from General Buddhist Scriptural School Group 3 under National Office of Buddhism using simple random sampling. The research tool was 5 point rating scale questionnaire, with a reliability coefficient of 0.98 and 0.99. The statistics used were percentage, mean, standard deviation, Pearson correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis. The research findings were as follows: 1. Overall, the factors affecting academic administration of schools was at high level. 2. Overall, the level of academic administration of schools was at high level. 3. The relationship between the factors affecting with academic administration of schools was the positive relationship at high level (rxy=0.86) with statistically significant at .01 4. By using multiple regression analysis, the factors affecting academic administration of schools were materials and technology, parents and communities, place, teachers, budget, at the .01 level of significance. The cumulative correlation coefficient was at 0.87. The prediction of academic administration of schools was 75 percent and can be written in a prediction equation as follows: The predicting equation of raw scores was: Ý = 0.06 + 0.35(X6) + 0.20(X3) + 0.18(X5) + 0.16(X2) The predicting equation of standard scores was: Z = 0.38(Z6) + 0.19(Z3) + 0.18(Z5) + 0.14(Z2)
คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหาร, การบริหารงานวิชาการ, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการKeyword
Administrational Factors, Academic Administration, Factors Affecting to Academic Administrationกำลังออนไลน์: 79
วันนี้: 2,156
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,355
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093