...
...
เผยแพร่: 27 มี.ค. 2566
หน้า: 176-184
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 682
Download: 321
Download PDF
ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Leadership of Administrators Affecting the Effectiveness of Teacher Performance in Primary Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง
พรทิพา สีหาคุณ, จินดา ลาโพธิ์, สุรัตน์ ดวงชาทม
Author
Porntipa Sihakun, Jinda Lapho, Surat Duagchatom

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970, pp. 607-610, อ้างถึงใน บุญชม ศรีสะอาด, 2560, หน้า 43) ได้จำนวน 327 คน แต่ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 99 คน และครูผู้สอนจำนวน 285 คน จากโรงเรียนจำนวน 99 โรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ (t-test) ชนิด Independent Samples การทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOWA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร อยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน อยู่ในระดับมาก 3. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนแบ่งออกเป็นดังนี้ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน แบ่งออกเป็นดังนี้ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (rXY = 0.642) 6. ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน มี 6 ด้าน คือ ด้านการเปลี่ยนแปลงอย่างมีอิทธิพล ด้านคิดวิเคราะห์ปัญหาเพื่อพัฒนา ด้านกระตุ้นการใช้ปัญญา ด้านวิสัยทัศน์ทันเหตุการณ์ ด้านการพัฒนาทีมและองค์การ และด้านแรงจูงใจเพื่อเป้าหมาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้ Y’ = 0.682 + 0.320 X4 + 0.216 X2 + 0.210 X6 + 0.143 X3 +0.166 X5 + 0.110 X1 และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Z’ = 0.306 Z4 + 0.218 Z2 + 0.234 Z6 + 0.162 Z3 + 0.203 Z5 +0.135 Z1 7. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน มี 6 ด้าน คือ 1) ผู้บริหารควรมีความคิดทันต่อการเปลี่ยนแปลง 2) ผู้บริหารควรมีการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเหมาะสม 3) ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้เพื่อนร่วมงานแสดงความคิดเห็น 4) ผู้บริหารใฝ่เรียนรู้ เท่าทันเทคโนโลยี 5) ผู้บริหารเห็นความสำคัญของทีมงานและ 6) ผู้บริหารมีความสามารถจูงใจผู้ร่วมงาน

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, identify the relationship, determine the predictive power, and establish guidelines for developing administrators’ leadership affecting the effectiveness of teacher performance in primary schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The sample consisted of 384 participants, including 99 school administrators, and 285 teachers from 99 schools, classified by positions, school sizes, and work experience, working under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The sample size was calculated by using Krejcie and Morgan Table. The instruments for data collection were a set of 5-rating scale questionnaires. The statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The administrators’ leadership was at a high level.  2. The effectiveness of teacher performance in schools was at a high level. 3. The comparison results revealed that the administrators’ leadership, as perceived by school administrators and teachers, classified by positions, school sizes, and work experience was different at the .01 level of significance. 4. The comparison results revealed that the effectiveness of teacher performance in schools, as perceived by school administrators and teachers, classified by positions, and work experience showed a difference at the .01 level of significance. In terms of school sizes, there was no difference. 5. The administrators’ leadership was positively correlated with the effectiveness of teacher performance in schools at a moderate level with a correlation coefficient (rxy) of 0.642. 6. The administrators’ leadership affecting the effectiveness of teacher performance in schools consisted of six aspects: transformational influence, critical thinking aiming at resolving problems for development, intellectual stimulation, modern visions, team development and organization, goal motivation, at the .01 level of significance. The equation could be summarized in raw scores and standardized scores as follows: Y’ = 0.682 + 0.320 X4 + 0.216 X2 + 0.210 X6 + 0.143 X3 +0.166 X5+0.110 X1, and Z’ = 0.306 Z4 + 0.218 Z2 + 0.234 Z6 + 0.162 Z3 + 0.203 Z5 +0.135 Z1, respectively. 7. The proposed guidelines for developing the leadership of administrators affecting the effectiveness of teacher performance in schools comprised six aspects: 1) Administrators should have innovative ideas to keep up with developments, 2) Administrators should be able to think analytically and synthetically, 3) Administrators should encourage colleagues’ opportunities to express their opinions, 4) Administrators should be knowledge seekers and keep pace with technological advancement, 6) Administrators should recognize the importance of team members, and 6) Administrators should be able to motivate colleagues.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำของผู้บริหาร, ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู

Keyword

Administrators’ Leadership, Effectiveness of Teacher Performance

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093