บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนขนาดเล็ก 2) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก 3) เปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนขนาดเล็ก 4) เปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก 5) หาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก 6) หาแนวทางทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งสิ้น 57 โรงเรียน จำนวน 232 คนแบ่งออกเป็นผู้บริหารโรงเรียน 57 คน และครูผู้สอน จำนวน 175 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .444 - .844 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .966 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .535 - .798 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .967 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด One samples การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) ส่วนการหาแนวทางในการพัฒนาใช้เทคนิคการศึกษาโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. การบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน และที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน 4. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน และที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. แนวทางพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 4 ด้าน คือ 6.1 ด้านความผูกพัน คือ ผู้บริหารกำหนดนโยบายในการมอบหมายภาระงานที่เหมาะสมและเป็นธรรมให้กับครูและเปิดโอกาสให้ครูได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการเลือกปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถและผู้บริหารเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในทุก ๆ กิจกรรมของโรงเรียน 6.2 ด้านการติตตามประเมินผล คือ เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในทุก ๆ กิจกรรมของโรงเรียน ได้มีส่วนร่วม เผชิญและแก้ปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ และผู้บริหารต้องเร่งรัดติดตามการดำเนินงานที่กำหนดไว้ตามเป้าหมายของมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานมีการประเมินผลและนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการบริหารอย่างต่อเนื่อง 6.3 ด้านการรักษาผลประโยชน์ คือ เปิดโอกาสให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมและสร้างความตระหนักให้กับชุมชนในการสอดส่อง ดูแล รักษาผลประโยชน์ของโรงเรียนในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ปฏิบัติงานมีอำนาจในการตัดสินใจและสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 6.4 ด้านการควบคุมการปฏิบัติงาน คือ เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ และปรึกษาหารือ รับฟังข้อเสนอแนะ ส่งเสริมให้บุคคลผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมทุกกิจกรรม เน้นการกระจายอำนาจให้สมาชิกทุกคนในองค์กรได้มีส่วนร่วมในการกำหนดภารกิจในการปฏิบัติงานเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, and establish guidelines for developing the participative management and the administrative effectiveness of small-sized schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The sample group, obtained through multi-stage random sampling, consisted of 57 school administrators and 175 teachers, yielding a total of 232 participants in the academic year 2021. The tools for data collection were sets of 5-rating scale questionnaires, including a set on participative management with the discriminative power from .444 to .844 and the reliability of .966 and a set on administrative effectiveness of small-sized schools with the discriminative power from .535 to .798 and the reliability of .967. The statistics for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was tested using the t-test, One-Way ANOVA, and Pearson’s product-moment correlation coefficient. The findings were as follows: 1. The participative management and the administrative effectiveness of small-sized schools were overall at a high level. 2. The overall participative management in small-sized schools showed no difference, whereas the administrative effectiveness in small-sized schools was different at the .05 level of significance. 3. The participative management and the administrative effectiveness in small-sized schools, classified by participants’ work experience showed no difference overall. 4. The relationship between the participative management and the administrative effectiveness of small-sized schools was positively correlated at the .01 level of significance. 5. The research has proposed the guidelines for developing the participative management and the administrative effectiveness of small-sized schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, consisting of four aspects as follows: 5.1 Commitment: administrators establish a policy that assigns teachers appropriate and fair tasks, allows teachers to participate in decision-making in selecting tasks that are appropriate for their knowledge and abilities, and allows community members to participate in all school activities 5.2 Follow-up Evaluation: Administrators encourage community members to participate in all school operations and activities, including dealing with and solving a variety of challenges. Administrators must monitor the accomplishment of the set goals outlined in the Basic Education Standards, implement evaluation measures, and apply the evaluation results to improve administration continuously. 5.3 Educational Benefits: administrators encourage community members to participate and create awareness among the community in monitoring and maintaining school benefits in various aspects for the most cost-effective use and maximum benefits. Administrators also provide stakeholders or performers the authority to make decisions and encourage stakeholders to participate in decision-making to improve educational quality. 5.4 Performance Control: administrators provide opportunities for parents, school committee members, and community members to monitor and consult on performance. Administrators should also be willing to listen to suggestions and encourage personnel to participate in all activities, with a decentralization focus on creating mission statements for task performance to mutually resolve problems.
คำสำคัญ
การบริหารแบบมีส่วนร่วม, ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กKeyword
Participative Management, Administrative Effectivenesกำลังออนไลน์: 19
วันนี้: 860
เมื่อวานนี้: 1,313
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,477,257
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093