...
...
เผยแพร่: 27 มี.ค. 2566
หน้า: 154-164
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 206
Download: 163
Download PDF
ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
Selected Factors Affecting the Operational Effectiveness of Student Assistance System in Secondary Schools under Nakhon Phanom Secondary Educational Service Area Office
ผู้แต่ง
ธนากร อุมะวรรณ, เยาวลักษณ์ สุตะโคตร, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์
Author
Tanakorn Umawan, Yaovalak Sutacort, Sikan Pienthunyakorn

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์  หาค่าอำนาจพยากรณ์ และแนวทางการพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูที่รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 348 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน 51 คน ครูที่รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 51 คน และครูผู้สอน 246 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยคัดสรรในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .616 - .867  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .979 แบบสอบถามประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .620 - .889  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .988 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ชนิดการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยคัดสรรในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยคัดสรรในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมพบว่า ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ทำงานและขนาดของโรงเรียนโดยรวมพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ 4. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมพบว่า ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ทำงานและขนาดโรงเรียน โดยรวมพบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ 5. ปัจจัยคัดสรรในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกับประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงมาก (rxy=.962) 6. ปัจจัยคัดสรรในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและด้านการนิเทศ กำกับติดตามและประเมินผลโดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 94.30 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±0.16674 7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม เสนอแนะไว้ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา และด้านการนิเทศ กำกับติดตามและประเมินผล

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, identify the relationship, determine the predictive power, and establish guidelines for developing the selected factors affecting the operational effectiveness of the student assistance system. The sample consisted of 51 school administrators, 51 teachers in charge of the student assistance system, and 246 teachers in schools under Nakhon Phanom Secondary Educational Service Area Office, yielding a total of 348 participants in the academic year 2021. The sample size was calculated by using Krejcie and Morgan Table, and the stratified random sampling. The tools for data collection were sets of 5-rating scale questionnaires, including a set on the selected factors with the discriminative power ranging from .616 to .867 and the reliability of .979, and a set on the operational effectiveness of the student assistance system with the discriminative power ranging from .620 to 889, and the reliability of .988, and interview forms on guidelines for developing selected factors affecting the operational effectiveness of the student assistance system. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA, Pearson's product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The selected factors for operating the student assistance system were overall at a high level. 2. The operational effectiveness of the student support system was overall at a high level. 3. The comparison results revealed that the selected factors for operating the student assistance system, classified by participants’ positions overall showed no differences, whereas, overall, in terms of participants’ work experience and school sizes, there were differences at the .05 and .01 levels of significance, respectively. 4. The comparison results revealed that the operational effectiveness of the student assistance system showed no differences in terms of participants’ positions. Overall, there was a difference in terms of participants’ work experience and school sizes at the .05 and .01 levels of significance, respectively. 5. The selected factors for operating the student assistance system and the operational effectiveness of the student support system had a positive relationship with a very high level (rxy=.962) at the .01 level of significance. 6. The three selected factors for operating the student assistance system could predict the operational effectiveness of the student support system at the .01 level of significance, including school-community cooperation (X4), school administrators’ leadership (X1), and supervision, monitoring, and evaluation (X5), with the predictive power of 94.30 percent and the standard error estimate of ±0.16674. 7. The proposed guidelines for developing the selected factors affecting the operational effectiveness of the student assistance system in secondary schools under Nakhon Phanom Secondary Educational Service Area Office comprised of three aspects: school-community cooperation, school administrators’ leadership, and supervision, monitoring, and evaluation.

คำสำคัญ

ปัจจัยคัดสรรในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, ประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

Keyword

Selected Factors Affecting the Operational Effectiveness of Student Assistance System

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093