...
...
เผยแพร่: 27 มี.ค. 2566
หน้า: 133-143
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 566
Download: 231
Download PDF
แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2
Guidelines For Academic Administration in Expansion Opportunity Schools Under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
นิภา มหาโชติ, สาโรจน์ เผ่าวงศากุล, นิพนธ์ วรรณเวช
Author
Nipha Mahachot, Saroch Pauwongsakul, Nipon Wonnawed

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการและแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 236 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ ตามพื้นที่การจัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และด้านการนิเทศการศึกษา ส่วนการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2. แนวการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 มีดังนี้ สถานศึกษาควรศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ชัดเจน และให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร ปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมแก่บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น มีการศึกษาดูงานสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ นำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ดำเนินการรายงานผลการวัดผลและประเมินผลทุกปี รวมทั้งสนับสนุนให้ครูจัดทำวิจัยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมและจัดทำ จัดหา พัฒนาสื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับ ติดตามนิเทศการศึกษาอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง และจัดทำรายงานผลการประเมินคุณภาพภายในให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบทุกครั้ง

Abstract

The purposes of this research were to study academic administration and guidelines for academic administration in expansion opportunity schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2. The sample group consisted of 236 administrators and teachers in expansion opportunity schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2. The research instrument was a 5-level scale questionnaire, with content validity at 1.00 and the reliability at 0.95, selected by stratified random sampling, and the statistics used in the data analysis consisted of mean, standard deviation, and content analysis. The results of the study were as follows: 1. The academic administration in expansion opportunity schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2 the overall practice was at a high level. When considering each aspect, it was found that the aspects that were practiced were at the highest level. Sorted in order of average value was the aspect of learning process development, followed by the evaluation and comparison of the learning outcomes. Development of quality assurance systems within educational institutions and educational supervision The practice was at a high level. Sorted in order of averages was the development of educational institutions, followed by the development of media. Innovation and Technology for Education development of learning resources and research to improve the quality of education. 2. The guidelines for the academic affairs administration in expansion opportunity schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2 were as follows: Educational institutions should study the core curriculum of basic education and allowing all parties to participate in curriculum development Improve and modify to be appropriate to the context of educational institutions and local, having a study trip to the schools that are successful in improve the learning process  apply technology  in teaching and learning management carry out the report yearly  assessment and evaluation as well as encourage teachers receive training and prepare, procure, develop media, technology innovation learning resources to facilitate learning management, appointing a supervisory committee follow up educational supervision at least once per semester and prepare a report on the results of the internal quality assessment for those involved every time

คำสำคัญ

แนวทางการบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

Keyword

Guidelines for Academic Administration, Expansion Opportunity Schools

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093