...
...
เผยแพร่: 27 มี.ค. 2566
หน้า: 123-132
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 288
Download: 223
Download PDF
ปัจจัยความสำเร็จในการนำนโยบายด้านการกระจายอำนาจไปปฏิบัติสู่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Success Factors on Decentralization Policy Implementation in Local Administrative Organizations of Subdistrict Administrative Organizations in Kui Buri District in Prachuap Khiri Khan Province
ผู้แต่ง
กิตติพจน์ รัศมี, ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน, รัฐ กันภัย
Author
kittiphod Rutsmee, Supanut Subnawin, Radh kuphai

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยความสำเร็จในการนำนโยบายด้านการกระจายอำนาจไปปฏิบัติสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความสำเร็จกับผลการกระจายอำนาจไปปฏิบัติสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) เสนอแนวทางที่เหมาะสมในการนำนโยบายด้านการกระจายอำนาจไปปฏิบัติสู่องค์กรปกครองส่วนององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 255 คน และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 16 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยความสำเร็จในการนำนโยบายด้านการกระจายอำนาจไปปฏิบัติสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการสื่อสาร มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านการติดตามผลและประเมินผล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านความชัดเจนของวัตถุประสงค์ 2. ปัจจัยในการนำนโยบายไปปฏิบัติมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยด้านความชัดเจนของวัตถุประสงค์กับผลสำเร็จของการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กันมากที่สุดที่ .661 ส่วนด้านการติดตามผลและประเมินผล และผลสำเร็จของการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความสัมพันธ์กันน้อยที่สุดที่ .477 3. แนวทางที่เหมาะสมในการนำนโยบายด้านการกระจายอำนาจไปปฏิบัติสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานควรมีความเข้าใจในภารกิจและหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างชัดเจน และที่สำคัญควรนำระบบเครือข่ายสารสนเทศมีประสิทธิภาพมาประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนให้การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสบความสำเร็จ

Abstract

with the objectives to: 1) study the level of success factors on decentralization policy implementation in local administrative organizations, 2) analyze the relationship between the success factors and the results of decentralization implementation in local administrative organizations, 3) propose appropriate guidelines for decentralization policy implementation in local administrative organizations in Kui Buri District, Prachuap Khiri Khan Province. The mixed research methodology was used in this study. For quantitative study, a questionnaire was used for collecting the data from 255 samples. And, for qualitative study, the structured interview was used for collecting data from 16 informants selected by using purposive sampling method. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson's correlation coefficient, and content analysis. The research results were as follows: 1. The opinion on success factors on decentralization policy implementation in local administrative organizations was overall at a high level. When each aspect was considered, it was found that the opinion on communication aspect was at the highest level, followed by the aspects of participation and monitoring and evaluation, whereas the aspect with the least mean was the clarity of the objectives. 2. There was positive relationship with statistical significance at the 0.01 level between factors on policy implementation and success. The aspect of clarity of objectives and success of decentralization to local administrative organizations showed the highest correlation at .661, whereas monitoring and evaluation aspect and success of decentralization to local administrative organizations showed the least correlation at .477. 3. The appropriate guidelines for decentralization policy implementation into local administrative organizations were that the personnel should have a clear understanding of their assigned missions and duties, and that, most importantly, the efficient information network system should be applied as a driver for the successful management of local administrative organizations

คำสำคัญ

ปัจจัยความสำเร็จ, การนำนโยบายด้านการกระจายอำนาจไปปฏิบัติ, องค์การบริหารส่วนตำบล

Keyword

Success factors, decentralization policy implementation, subdistrict administrative organization

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093