บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 302 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามพื้นที่การจัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า 1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ และด้านกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียน และยกย่องเชิดชูเกียรติการขับเคลื่อนกระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพสู่สถานศึกษามีค่าเฉลี่ยเท่ากัน รองลงมาคือ ด้านสรุปรายงานผลการดำเนินการการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ ด้านการขับเคลื่อนกระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ด้านการกำหนดแผนงานการขับเคลื่อนกระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพระดับสถานศึกษาและด้านกำกับติดตามนิเทศและประเมินผล 2. การเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 จำแนกตามพื้นที่การจัดการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Abstract
The purposes of this research were to study and compare the roles of school administrators in professional learning communities administration of basic education schools under Kanchanaburi Primary Education Area Office 2. The sample used in this research consisted of 302 administrators and teachers in basic education school selected by using a stratified random samping according to study area. The research instrument was a 5-level estimation scale questionnaire with content validity of 0.67-1.00 and reliability at 0.99. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and Pearson's correlation coefficient analysis. The statistical significance level at 0.05. The research results were as follows: 1. The purposes of this research were to study and compare the roles of school administrators in professional learning communities administration of basic education schools under Kanchanaburi Primary Education Area Office 2., the overall, the practice was at the highest level. When considering each aspect, it was found that The practice was at the highest level in all aspects. Sorted in order of averages was the appointment of the committee to drive the community management process of professional learning. The activities for exchanging learning, taking lessons, and glorifying the drive of the community management process of vocational learning to educational institutions were equal, followed by a summary report on the results of the implementation of the professional learning community process. Driving the community management process of vocational learning to practice in educational institutions in the formulation of work plans to drive the community management process of professional learning at the educational institution level and in the field of supervision, supervision and evaluation. 2. The purposes of this research were to study and compare the roles of school administrators in professional learning communities administration of basic education schools under Kanchanaburi Primary Education Area Office 2., classified by educational management area Overall and each aspect in all aspects were not significantly different in terms of statistical significance
คำสำคัญ
บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา, การบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ, ผู้บริหารสถานศึกษา, ครูผู้สอนในโรงเรียนKeyword
roles of school administrators, professional learning community administration, school administrators, school teachersกำลังออนไลน์: 84
วันนี้: 1,971
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,170
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093