บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาทและ 2) หาแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 35 คน และครู 271 รวมทั้งสิ้น 306 คน ที่ได้มาจากการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การหาแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลโดยการโดยการจัดสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.88, S.D.= 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีปัญหามากที่สุด คือ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ( =3.96, S.D.= 0.60) รองลงมา คือ ด้านการบริหารงานบุคคล ( =3.90, S.D.= 0.66) ด้านการบริหารงานทั่วไป ( = 3.88, S.D.= 0.77) และด้านการบริหารงานวิชาการ ( = 3.75, S.D.= 0.76) ตามลำดับ 2. แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล พบว่า ควรมีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารงานพัสดุและสินทรัพย์ของสถานศึกษา การวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่งควรจัดให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศในสถานศึกษา
Abstract
This research aimed to 1) study the problems of using information technology of school management in the Digital Era under the Chai Nat Primary Educational Service Area Office and 2) finding guidelines for using information technology of school management in the Digital Era under the Chai Nat Primary Educational Service Area Office. The research was conducted into 2 steps: 1) studying the problems of using information technology of school management in the Digital Era under the Chai Nat Primary Educational Service Area Office with the sample was 35 administrators and 271 teachers, total 306 people obtained by using Krejcie & Morgan formula. The instrument was a questionnaire regarding the problems of using information technology of school management in the Digital Era with a reliability of 0.94. Data was analyzed by mean and standard deviation 2) finding guidelines for using information technology of school management in the Digital Era under the Chai Nat Primary Educational Service Area Office was conducted by focus group discussion of 7 experts. The instrument was the recording form. Data was analyzed by content analysis. The results were as follows: 1. the problems of using information technology of school management in the Digital Era under the Chai Nat Primary Educational Service Area Office of all was the high level ( = 3.88, S.D.= 0.49). When consider each aspect, it was found that the highest problem was the budget management ( = 3.96, S.D.= 0.60), the next was the personnel management (x =3.90, S.D.= 0.66), general administration ( = 3.88, S.D.= 0.77) and the academic administration ( = 3.75, S.D.= 0.76), respectively. 2. the guidelines for using information technology of school management in the Digital Era under the Chai Nat Primary Educational Service Area Office found that should be used computer programs for the management of school supplies and assets, amount of people planning and positioning, should be provided the Internet and the Internet network for operations, including should be used technology to collect and analyze information in educational institutions
คำสำคัญ
การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล, เทคโนโลยีสารสนเทศKeyword
school management in the Digital Era, information technologyกำลังออนไลน์: 32
วันนี้: 977
เมื่อวานนี้: 1,313
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,477,374
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093