บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วม มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 293 คนโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 พบว่า การมีส่วนร่วมโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการเสียสละและพัฒนา ด้านการมีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมิน 2. มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 พบว่าการปฏิบัติโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รองลงมาคือ ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ และด้านคุณภาพผู้เรียน 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Abstract
The purposes of this research were to study the participative administrators, to study the basic educational standards, and to study the relationship between participative administrators and basic educational standards in schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 3. The sample group used in this research consisted of 289 administrators and teachers in schools, obtained by stratified random sampling. The research instrument was a 5-level estimation scale questionnaire with content validity of 0.67-1.00 and reliability at 0.98. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation content analysis and Pearson’ product moment correlation ecoefficiency. The statistical significance level at 0.01. The research results were as follows: 1. The participative administration in schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 3, was overall and in each aspect at a high level, ranking in the order of mean from high to low as sacrifice and development, benefits, decision making and evaluation. 2. The basic educational standards under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 3, was overall and in each aspect at a high level, ranking in the order of mean from high to low as child-centered leaning, administrative and management processes and learner quality 3. The relationship between participative administration and basic educational standards in schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 3 had positive correlation at the highest level with a statistical significance at the level of 0.01.
คำสำคัญ
การบริหารแบบมีส่วนร่วม, มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานKeyword
Participative Administrators, The Basic Educational Standardsกำลังออนไลน์: 76
วันนี้: 2,169
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,368
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093