...
...
เผยแพร่: 27 มี.ค. 2566
หน้า: 73-83
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 305
Download: 217
Download PDF
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Administrative Factors Affecting the Core Competencies of Teachers under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง
กิตติศักดิ์ ซ้ายสุพรรณ, เพ็ญผกา ปัญจนะ, ชรินดา พิมพบุตร
Author
Kittisak Saisuphan, Penphaka Punjana, Charinda Pimpabud

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ในปีการศึกษา 2564 กำหนดขนาดตามกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางของ Krejcie and Morgan ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 337 คน ได้มาโดยในการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 97 คน และครู จำนวน 240 คน จากจำนวน 59 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหาร ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .25 - .81 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหาร เท่ากับ .95 และสมรรถนะหลักของครูค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .27 - .72 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะหลักของครู เท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อนละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยทางการบริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. สมรรถนะหลักของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก  3. ปัจจัยทางการบริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการจำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน 4. สมรรถนะหลักของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนการจำแนกตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ปัจจัยทางการบริหาร โดยรวม กับสมรรถนะหลักของครู มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (r= 0.706**) 6. ปัจจัยทางการบริหาร มีอำนาจพยากรณ์สมรรถนะหลักของครูในทางบวก คือ ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ด้านบรรยากาศองค์กร และวัฒนธรรมองค์การ และด้านการบริหารจัดการ ส่วนปัจจัยทางการบริหารที่มีอำนาจพยากรณ์สมรรถนะหลักของครูในทางลบคือ ด้านภาวะผู้นำ และด้านงบประมาณ โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 71.80 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±0.27110 7. แนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักครู เสนอแนะไว้ 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ได้แก่ ผู้บริหารต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการบริหารในโรงเรียน ด้านบรรยากาศองค์กร และวัฒนธรรมองค์การได้แก่ ผู้บริหาร และครูจะต้องร่วมมือร่วมแรงในการทำงาน และต้องจัดกิจกรรมที่เน้นการทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในองค์กร ด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูจะต้องแบ่งเวลา มีการวางแผนร่วมกันในการทำงาน ด้านภาวะผู้นำ ได้แก่ ผู้บริหารต้องเน้นการพัฒนางาน โดยต้องใช้ภาวะผู้นำให้ถูกต้องตามสถานการณ์ และด้านงบประมาณ ได้แก่ ผู้บริหารจะต้องมีการวางแผนที่ดี บริหารงบประมาณจะต้องมีความยืดหยุ่น ให้ครูได้มีการจัดสรรงบประมาณ คำนวณค่าใช้จ่าย และร่วมกันประเมินโครงการ

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing administrative factors affecting the core competencies of teachers under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The sample consisted of 97 administrators and 240 teachers, yielding a total of 337 participants from 59 schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2021, as determined by multi-stage sampling. The sample size was calculated using Krejcie and Morgan’s table. The research instrument was a set of questionnaires on administrative factors with the discriminant power from .25 to .81 with a reliability of .95, and the teacher's core competency ranging from .27 to .72 and a reliability of .91. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, t-test for Independent Samples), One–Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The administrative factors, as perceived by participants as a whole and in each aspect were at a high level. 2. The teachers’ core competencies, as perceived by participants as a whole and in each aspect were at a high level. 3. The administrative factors as perceived by participants with different positions as a whole were at the .01 level of significance, but there were no differences in terms of school sizes and work experience as a whole. 4. The teachers’ core competencies as perceived by participants with different positions as a whole showed no differences, whereas, in terms of school sizes and work experience, there were at the .01 level of significance as a whole. 5. The overall administration factors and the teachers’ core competencies had a positive relationship with a high level of correlation coefficients (rXY = 0.706) at the .01 level of significance. 6. The administrative factors were able to predict the teachers’ core competencies positively, namely information technology, organizational atmosphere and culture, and administrative management, whereas the administrative factors regarding leadership and budget were able to predict the teachers’ core competencies adversely with the predictive power of 71.80 percent and the standard error of prediction of ±0.27110. 7. The proposed guidelines for developing administrative factors affecting teachers’ core competencies consisted of five aspects: Information Technologies, administrators must accept changes in the new world and utilize technologies as part of school administrative management; Organizational Climate and Culture, administrators and teachers must work together and organize activities focusing on creating a good internal organizational climate; Administrative Management, administrators and teachers must coordinate schedules and work plans; Leadership, administrators must focus on job development and adapt leadership styles to suit varying situations; Budget, administrators must have good plans and flexible budget administration to provide teachers with efficient budget allocations, expenditure calculations, and joint project assessments

คำสำคัญ

ปัจจัยทางการบริหาร, สมรรถนะหลักของครู

Keyword

Administrative Factors, Teachers’ Core Competencies

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093