...
...
เผยแพร่: 27 มี.ค. 2566
หน้า: 63-72
ประเภท: บทความวิชาการ
View: 277
Download: 212
Download PDF
การใช้อำนาจทางการบริหารที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
The Exercise of Administrative Powers Affecting Morale in Work Performance of Teachers Under Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area Office
ผู้แต่ง
ชาคริสต์ เลิศเตชะจิรานนท์, สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, ชรินดา พิมพบุตร
Author
Chacrist Lertdechajiranon, Sawat Phothiwat, Charinda Phimphabut

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับการใช้อำนาจทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจทางการบริหารกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู 4) ค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดีของการใช้อำนาจทางการบริหารที่มีผลต่อการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู 5) หาแนวทางในการพัฒนาการใช้อำนาจทางการบริหารที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีในการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 337 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 45 คน และครูผู้สอน จำนวน 292 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 การใช้อำนาจทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษามีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ในระหว่าง .281-.946  และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .919 ด้านที่ 2 ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ในระหว่าง .431-.936 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .968 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการใช้ค่า t-test แบบ One sample ค่า t-test ของค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Products Moment Correlation Coefficients) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้น (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. การใช้อำนาจทางการบริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 3. การใช้อำนาจทางการบริหาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. การใช้อำนาจทางการบริหาร เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู คือ อำนาจอ้างอิง อำนาจตามกฎหมาย อำนาจความเชี่ยวชาญ และ อำนาจบังคับบัญชา มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ เท่ากับ ±.29965 สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้ Y’= .593 + .379 (X4) + .228 (X3) + .128 (X6) + .105 (X1) และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Z’= .433 (Z4) + .237 (Z3) + .156 (Z6) + .098 (Z1) 5. การใช้อำนาจทางการบริหารที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู ที่ควรได้รับการพัฒนามี 4 ด้านที่สำคัญ ดังนี้ 5.1 อำนาจอ้างอิง คือ ผู้บริหารจะต้องมีลักษณะหรือบุคลิกภาพส่วนตัวเป็นผู้ที่น่าเคารพ ชื่นชอบและมีอิทธิพลต่อผู้อื่น ผู้บริหารต้องทำตนให้ดีในด้าน ครองตน ครองคน ครองงาน ตลอดจนแนะแนวทางในการดำเนินงานต่าง ๆ กับบุคคลอื่น 5.2 อำนาจตามกฎหมาย คือ ผู้บริหารควรมีมนุษยสัมพันธ์ในการออกกฎ มีความประนีประนอมแม้ว่าจะสั่งการและมีอำนาจตัดสินใจสูงในโรงเรียน ผู้บริหารต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบ ออกกฎในโรงเรียนให้ชัดเจนและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครู 5.3 อำนาจความเชี่ยวชาญ คือ ผู้บริหารควรมีแผนการพัฒนาตนเอง และเผยแพร่ให้บุคลากรรับรู้ผู้บริหารจะต้องแนะนำ ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชา 5.4 อำนาจบังคับบัญชา คือ ผู้บริหารควรปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา บังคับบัญชาอย่างเป็นกัลยาณมิตร ต้องทำตัวให้น่าเคารพนับถือ และต้องมีการสร้างโครงสร้างการบริหารภายในโรงเรียน

Abstract

The purposes of this research were 1) to examine the level of the exercise of administrative powers of school administrators, 2) to investigate the level of teachers’ morale in work performance, 3) to analyze the relationship between the exercise of administrative power and the teachers’ morale in work performance, 4) to identify a good predictor of the exercise of administrative power affecting teachers’ morale in work performance, and 5) to establish guidelines for developing the exercise of administrative power, which has been demonstrated to be a good predictor for improving teachers’ morale in work performance in schools under Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area Office. The sample group consisted of 337 personnel, including 45 school administrators and 292 teachers working in schools under Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area Office in the academic year 2021. The research instrument was a set of 5-level rating questionnaires comprising two aspects: The exercise of administrative power of school administrators, and the teachers’ morale in work performance with discriminant powers ranging from .281 to .946, .431 to .936, and the reliability of .919 and .968, respectively. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The hypothesis was tested using a one-sample t-test, and t-test of Pearson's product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The exercise of administrative power was overall at a high level. 2. The teachers’ morale in work performance was overall at a high level. 3. The exercise of administrative power had a positive relationship with the teachers’ morale in terms of work performance at the .01 level of significance. 4. The exercise of administrative power comprised good predictors of teachers’ morale in terms of work performance, namely referent power, legalistic power, expertise power, and coercive power, with a standard error of estimate of ±.29965. The regression equation could be summarized in raw scores and standardized scores as follows: Y’= .593 + .379 (X4) + .228 (X3) + .128 (X6) + .105 (X1) Z’= .433 (Z4) + .237 (Z3) + .156 (Z6) + .098 (Z1) 5. The exercise of administrative power affecting the teachers’ morale in work performance needed to be improved in four critical aspects: 5.1 Referent Power, administrators should have courteous, pleasant, and influential attributes and personalities. Administrators must also demonstrate self-control, man-management, and job management skills, as well as provide guidelines for accomplishing various responsibilities. 5.2 Legalistic Power, administrators should have a human relationship when it comes to drafting regulations and compromise when in command, and with high-level decision-making power in schools. Administrators must adhere to the rules, establish clear norms in schools, and act as good role models for teachers. 5.3 Expertise Power, administrators should create and share self-development plans with personnel, and give their subordinates guidance, assistance, encouragement, and support. 5.4 Coercive Power, administrators should set a good example for their subordinates by being courteous in their command, and treating others with respect. An administrative structure is required within schools

คำสำคัญ

การใช้อำนาจทางการบริหาร, ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู

Keyword

Exercising Administrative Power, Teachers’ Morale in Work Performance

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093