...
...
เผยแพร่: 27 มี.ค. 2566
หน้า: 20-30
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 618
Download: 222
Download PDF
การพัฒนากระบวนการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยจากการรังแกกัน ในโรงเรียนเพลินพัฒนา
The Process of Creating a Safety Culture of Anti-Bullying in Plearnpattana School
ผู้แต่ง
พัชราภา ตันติชูเวช, สุมิตร สุวรรณ
Author
Patcharapa Tantichuwet, Sumit Suwan

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถอดบทเรียนกระบวนการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยจากการรังแกกัน 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยจากการรังแกกันในโรงเรียนเพลินพัฒนา ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง รวมจำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. กระบวนการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยจากการรังแกกันในโรงเรียนเริ่มต้นจากการเห็นความสำคัญของผู้บริหาร การเตรียมทีมครูที่มีความรู้ในปัญหาการรังแกกันและวิธีการป้องกันการรังแกกันในโรงเรียน การสร้างกฎกติกาโรงเรียนแห่งความสุขโดยนักเรียน การสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปกครอง และการทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ 2. ปัจจัยด้านบวกที่ส่งผลต่อกระบวนการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยจากการรังแกกันในโรงเรียน เช่น ผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ต้องเห็นความสำคัญ มีระบบและกติกาที่ชัดเจน มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับครู ครูกับนักเรียน ครูกับผู้ปกครอง ส่วนปัจจัยด้านลบ เช่น นิยามของคำว่าการรังแกกันไม่ชัดเจน ทักษะการสังเกตพฤติกรรมการรังแกกันของครู ขาดการพัฒนาผู้เห็นเหตุการณ์การรังแกกันให้แข็งแกร่ง กฎกติกาของโรงเรียนต้องสอดคล้องกันทั้งโรงเรียน

Abstract

The purposes of this research were to 1) identify a lesson learned the process of creating a safety culture of anti-bullying in Plearnpattana School; and 2) study factors affecting the process for creating safety cultures in Plearnpattana School. 18 key informants derived from purposive selection included administrators, teachers, students, and parents. The research instruments were an in-depth interview form and a focus group discussion form. Data were verified and analyzed by triangulation and content analysis.  The result shown that; 1. The development of a process for creating a safety culture from bullying in school started from the administrators’ recognition of significance of the problem, the preparation for a team of teachers who were knowledgeable and understood the problem and the prevention of bullying in schools, the rules creation for being the school of happiness that was designed by the students, the communication with parents and stakeholders; 2. Positive factors affecting the process of creating safety cultures in schools included stakeholders such as administrators, teachers, students, and parents had to recognize the significance of the problem, having clear system and rules, good relationship between teacher-teacher, teacher-student, and teacher-parents, student tracking, and the cooperation between teachers and stakeholders. On the other hand, negative factors affecting the process of creating safety cultures were unclear definitions of bullying, the lack of bullying behavior observation skills in teachers, the lack of the process development to encourage informants in bullying situations, lack of the coherent rules for all grades in school.

คำสำคัญ

การรังแกกัน, วัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงเรียน, โรงเรียนเพลินพัฒนา

Keyword

Bullying, Safety culture in schools, Plearnpattana school

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093