บทคัดย่อ
โครงการศึกษากระบวนการดูแลนิสิตครูมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน โดยมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้ ศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์การดำเนินการบริหารจัดการการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยพะเยาที่ผ่านมานำไปสร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยพะเยา และสร้างแบบสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ คณบดี รองคณบดี หัวหน้าฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู อาจารย์ผู้สอน อาจารย์นิเทศก์ ครูพี่เลี้ยง และนิสิตครู แล้วนำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์เป็นร่างรูปแบบกระบวนการดูแลนิสิตครูมหาวิทยาลัยพะเยา นำเสนอต่อที่ประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (Focus group) เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เกี่ยวข้องกับการใช้บัณฑิตครู โดยนำร่างรูปแบบกระบวนการดูแลนิสิตครูมหาวิทยาลัยพะเยา ไปนำเสนอเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องที่แหล่งฝึกประสบการณ์จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ โรงเรียนดงเจนวิทยาคม โรงเรียนเชียงคำวิทยาคม และโรงเรียนแม่สายประสิทธิศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ผลของการศึกษาพบว่า กระบวนการดูแลนิสิตครูมี 6 องค์ประกอบดังนี้ บริบท (Context: C) ปัจจัยนำเข้า (Input: I) กระบวนการ (Process: P) ผลผลิต (Output: O) ผลลัพธ์ (Outcome: O) และข้อมูลป้อนกลับ (Feedback: F) ทั้งนี้ในองค์ประกอบด้านกระบวนการ (Process: P) มีรูปแบบกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มีจุดเด่นการนิเทศ 2 แบบ คือการนิเทศแบบ Face to face และ แบบ Online โดยใช้สื่อเทคโนโลยี กระบวนการดูแลนิสิตครูตามรูปแบบนี้ ส่งผลให้นิสิตมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีคุณธรรมมีจริยธรรม มีความรู้ และมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน และสามารถลดค่าครองชีพเนื่องจากอยู่รวมกับครอบครัวเพิ่มความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว สำหรับมหาวิทยาลัยสามารถประหยัดงบประมาณ เวลา และเพิ่มความปลอดภัยของอาจารย์นิเทศก์ นิสิตเป็นที่ยอมรับในสังคม นิสิตได้งานทำภายใน 1 ปี 96.61% และนิสิตมีแนวโน้มเป็นครูมืออาชีพในอนาคต
Abstract
University of Phayao study process student care project to support the implementation of educational opportunities for students in remote areas as young teachers to improve the quality of community schools. The procedure is as follows: first we study the data and analyze the management of teacher training practices University of Phayao in the past and then create structured interviews to interview those involved in the management of the teacher training University of Phayao and create a questionnaire. The informant group is the Dean, Deputy Dean, Head of Professional Teacher Experience Training Teachers, teachers, mentors, and students. Then the information was synthesized as a form of care for student teachers at the University of Phayao to present to the Focus group to consider from the experts and related to the use of graduate teachers. By drafting the process of caring for students University of Phayao to present and tolerant of those involved at the training 3 times at Chiangkhamwitthayakhom school and Maesai Prasitsart school, the secondary educational service area office 36. The results illustrate that the supervision of pre-service teachers consists of 6 elements as follows: Context (C) Input (I) Process (P), Output (O), Result (Outcome) and Feedback (F). In the process (P) comprises of the training process of the teacher's professional experience with two distinctive characteristics: face-to-face and online communication using technologies. Additionally, according to the conditions of success in caring for students leads to teacher’s spirit, moral, ethical, knowledgeable to manage teaching and reduce the cost of living because they live together with the family. Moreover, it increases relationship in family. For the university, it saves budget, time and increase the safety of supervisors. Students are accepted in society. 96.61% of students got a job within 1 year and students are likely to be professional teachers in the future.
คำสำคัญ
กระบวนการดูแลนิสิตครู, โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษา, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูKeyword
Study Process Student Care Project, Educational Opportunity Creation Program, Professional teacher experience trainingกำลังออนไลน์: 115
วันนี้: 928
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,514
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093