...
...
เผยแพร่: 27 มี.ค. 2566
หน้า: 1-8
ประเภท: บทความวิชาการ
View: 1295
Download: 490
Download PDF
การจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
Learning Management of Educational Institutions in the Digital age using Social Networks
ผู้แต่ง
จิณณวัตร ปะโคทัง, ธีระ รุญเจริญ
Author
Jinawatara Pakotung, Teera Runcharoen

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลโดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ มีความสำคัญในการบริหารสถานศึกษาโดยภาพรวม เพื่อให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจ ได้รู้และเข้าใจกิจกรรมของสถานศึกษาเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้เครื่องมือในรูปแบบดิจิทัล ผ่านอุปกรณ์เครื่องมือทางสื่อสังคมออนไลน์ด้วย คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรืออุปกรณ์อื่น ด้วยการเชื่อมโยงโครงข่ายด้วยอุปกรณ์เครือข่าย เซิร์ฟเวอร์ ไคลเอนต์ ฮับ เนทเวิร์คสวิตช์ เราต์เตอร์ เพื่อเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงที่อยู่ของสถานีต้นทางสู่ปลายทาง เครือข่ายสังคมออนไลน์มีประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้ เป็นคลังข้อมูลขนาดย่อมสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร สร้างความเชื่อมั่น ให้ผู้รับบริการ โดยเฉพาะผู้เรียนในการเรียนรู้ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เครือข่ายสังคมออนไลน์สามารถลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมและทั่วถึงในด้านการศึกษา ด้วยข้อจำกัดด้านต้นทุนต่อหัวและงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด การจัดรูปแบบห้องเรียนดิจิทัลที่สำคัญมี 4 แนวทาง คือ 1) ห้องเรียนเสมือนจริง เป็นการถ่ายทอดการจัดการเรียนรู้จากห้องเรียนปกติในเขตเมืองไปสู่สถานศึกษาในชนบทที่ห่างไกลหรือผู้เรียนที่ไม่สะดวกเข้ามาในห้องเรียน 2) การเรียนรู้แบบผสมผสาน เป็นการปรับรูปแบบห้องเรียนเพื่อลดภาระชั่วโมงการเข้าสอนของครูลง โดยบูรณาการรูปแบบห้องเรียนดิจิทัลร่วม 3) การสร้างความเท่าเทียมและทั่วถึงในด้านการศึกษา เป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอน โดยการสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของครูผู้สอนจากที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศหรือทั่วโลกที่เชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและ 4) เทคโนโลยีการป้อนข้อมูล การวิเคราะห์ และการกู้คืนระบบ โดยผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้สอนใช้เทคโนโลยีสร้างระบบที่ช่วยในการติดตาม วิเคราะห์ และช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล จะเป็นการสื่อสารประขาสัมพันธ์และการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา ซึ่งสามารถช่วยงานด้านการบริหารได้เป็นอย่างดี แต่ข้อจำกัดของเครือข่ายสังคมออนไลน์ต้องใช้ให้ปลอดภัยและเกิดประโยชน์สูงสุดการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลโดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ มีความสำคัญในการบริหารสถานศึกษาโดยภาพรวม เพื่อให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจ ได้รู้และเข้าใจกิจกรรมของสถานศึกษาเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้เครื่องมือในรูปแบบดิจิทัล ผ่านอุปกรณ์เครื่องมือทางสื่อสังคมออนไลน์ด้วย คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรืออุปกรณ์อื่น ด้วยการเชื่อมโยงโครงข่ายด้วยอุปกรณ์เครือข่าย เซิร์ฟเวอร์ ไคลเอนต์ ฮับ เนทเวิร์คสวิตช์ เราต์เตอร์ เพื่อเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงที่อยู่ของสถานีต้นทางสู่ปลายทางเครือข่ายสังคมออนไลน์มีประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้ เป็นคลังข้อมูลขนาดย่อมสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้รับบริการ โดยเฉพาะผู้เรียนในการเรียนรู้ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เครือข่ายสังคมออนไลน์สามารถลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมและทั่วถึงในด้านการศึกษา ด้วยข้อจำกัดด้านต้นทุนต่อหัวและงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด การจัดรูปแบบห้องเรียนดิจิทัลที่สำคัญมี 4 แนวทาง คือ 1) ห้องเรียนเสมือนจริง เป็นการถ่ายทอดการจัดการเรียนรู้จากห้องเรียนปกติในเขตเมืองไปสู่สถานศึกษาในชนบทที่ห่างไกลหรือผู้เรียนที่ไม่สะดวกเข้ามาในห้องเรียน 2) การเรียนรู้แบบผสมผสาน เป็นการปรับรูปแบบห้องเรียนเพื่อลดภาระชั่วโมงการเข้าสอนของครูลง โดยบูรณาการรูปแบบห้องเรียนดิจิทัลร่วม 3) การสร้างความเท่าเทียมและทั่วถึงในด้านการศึกษา เป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอน โดยการสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของครูผู้สอนจากที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศหรือทั่วโลกที่เชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและ 4) เทคโนโลยีการป้อนข้อมูล การวิเคราะห์ และการกู้คืนระบบ โดยผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้สอนใช้เทคโนโลยีสร้างระบบที่ช่วยในการติดตาม วิเคราะห์ และช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล จะเป็นการสื่อสารประขาสัมพันธ์และการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา ซึ่งสามารถช่วยงานด้านการบริหารได้เป็นอย่างดี แต่ข้อจำกัดของเครือข่ายสังคมออนไลน์ต้องใช้ให้ปลอดภัยและเกิดประโยชน์สูงสุด

Abstract

Learning management of educational institutions in the digital era using social networks was important in overall school administration for students, teachers, parents which concerned parties and interested parties get to know and understand the activities of educational institutions in order to create cooperation in the implementation of activities using digital tools through social media tools with a computer, smartphone, tablet or other device by interconnecting the network with network devices, servers, clients, hubs, network switches, routers as devices that act to link the address of the source station to the destination social networks were useful for exchanging information and knowledge on common interests.  It was a small data warehouse that can offer and express opinions and exchange knowledge, save on communication costs, build confidence in service recipients especially learners in learning and good relationships both within and outside the school. Social networks could reduce disparities and create equality and inclusion in education with limited cost per capita and budget. There were four main approaches to digital classroom formatting: 1) virtual Classroom was the transfer of learning management from normal classrooms in urban areas to educational institutions in rural areas or to learners who were not comfortable entering the classroom. 2) blended learning to adjust the classroom format to reduce the burden of teachers' teaching hours by integrating the digital classroom model together. 3) creating equality and inclusiveness in education was the use of technology to help develop the potential of teachers by creating a network to exchange knowledge and experiences of teachers from various places across the country or around the world that were connected with digital technology and 4) data entry, analysis, and recovery technologies. The school administrators or teachers used technology to create a system that helped monitor, analyze and assist individual students. It would be a communication, public relations and learning management of educational institutions which could help the administration work very well but the limitations of social networks must be used in order to be safe and get the most out of it

คำสำคัญ

การจัดการเรียนรู้, สถานศึกษาดิจิทัล, เครือข่ายสังคมออนไลน์

Keyword

Learning management, Digital Educational Institutions, Social Networks

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093