บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทผู้บริหารการศึกษาสถานศึกษาขนาดเล็ก 2) ศึกษาการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารการศึกษาสถานศึกษาขนาดเล็ก กับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 226 คน กำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. บทบาทของผู้บริหารการศึกษาสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.46) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่ผู้บริหารมีบทบาทอยู่ในระดับมากที่สุดมี 1 ด้าน คือ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ( = 4.52) และด้านที่ผู้บริหารมีบทบาท อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน คือ ด้านการส่งเสริมความเข้มแข็งของภาคีเครือข่าย ( = 4.45) ด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ( = 4.44) และด้านการบริหารงานวิชาการ ( = 4.41)
2. การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของผู้บริหารการศึกษาสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.36) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกด้านอยู่ในระดับมากโดย ด้านทักษะวิชาชีวิต มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( = 4.53) รองลงมา คือ ด้านทักษะวิชาอาชีพ ( = 4.35) และด้านทักษะวิชาการ ( = 4.19)
Abstract
The objectives of this research were 1) to study the roles of educational administrators in small schools, 2) to study learner quality development, and 3) to study the relationship between the roles of educational administrators in small schools. with the development of the quality of learners Under the Office of Secondary Education Service Area 11 The sample group used in the research was teachers of small schools. Under the Office of Secondary Education Service Area, District 11, Academic Year 2020, the number of 226 people was determined using a ready-made table of Craigie and Morgan. and select the sample by simple random sampling The research instrument was a rating scale questionnaire. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean score. and standard deviation Pearson's correlation coefficient was analyzed. and using Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. The role of educational administrators in small schools Under the Office of Secondary Education Service Area 11, as a whole, it was at a high level ( = 4.46). At the highest level, 1 aspect was the promotion and support of learning management ( = 4.52) and the role of the administrators. It was at a high level in 3 areas, namely, strengthening of network partners ( = 4.45), educational quality development ( = 4.44), and academic administration ( = 4.41)
2. Development of learner quality of educational administrators of small educational institutions Under the Office of Secondary Education Service Area 11, as a whole, it was at a high level ( = 4.36). with the highest average ( = 4.53), followed by occupational skills ( = 4.35) and academic skills ( = 4.19)
3. The relationship between the role of educational administrators in small schools and the development of learner quality. under the Office of Secondary Education Service Area 11, which can jointly predict learner quality development in 3 areas: academic administration; promotion and support of learning management and strengthening of network partners can jointly predict the development of learners' 49.2% had a statistical significance at the .01 level
คำสำคัญ
ความสัมพันธ์, บทบาทผู้บริหาร, การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนKeyword
Relationship, Executive Role, Learner Quality Developmentกำลังออนไลน์: 74
วันนี้: 2,172
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,371
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093