บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างคือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 86 สถานศึกษา ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยใช้อำเภอเป็นชั้น ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน หัวหน้าฝ่าย 1 คน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 1 คน จำนวนทั้งสิ้น 258 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .973 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลวิจัย พบว่า
1. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าฝ่าย และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเองการควบคุมตนเอง การตระหนักรู้ในตนเอง การมีทักษะทางสังคม และการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
2. การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาครตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าฝ่าย และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ อำนาจตามกฎหมาย อำนาจอ้างอิงอำนาจการให้รางวัล อำนาจความเชี่ยวชาญ และอำนาจบังคับ
3. ความฉลาดทางอารมณ์กับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าฝ่าย และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอยู่ในระดับสูง (r=.752) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purposes of this research were to examine 1) the emotional intelligence of school administrator 2) the power of school administrator and 3) the relationship between the emotional intelligence and the power of school administrator under Samut Sakhon Primary Educational Service Area. The sample is academy under Samut Sakhon Primary Educational Service Area 86 academy. Which was obtained from the proportionate stratified sampling Use the district as a layer. The respondents were a director, a head of department, and a group leader, with the total of 258 persons. Tools used for data collection is 5-level estimation questionnaire have a confidence factor of .973. The statistics for data analysis were frequency distribution, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient.
The research findings were as follows:
1. The emotional intelligence of school administrator under Samut Sakhon Primary Educational Service Area based on the idea of school administrator, department head and group leader, overall and each aspect is at a high level in all aspects. In the order of the mean descending as follows: motivation, self-regulation, self-awareness, social skills and empathy.
2. The power of school administrator under Samut Sakhon Primary Educational Service Area based on the idea of school administrator, department head and group leader, overall and each aspect is at a high level in all aspects. In the order of the mean descending as follows: leaitimate power, referent power, reward power, expert power and coercive power.
3. The emotional intelligence and the power of school administrator under Samut Sakhon Primary Educational Service Area. based on the idea of school administrator, department head and group leader Overall, there was a high level of positive correlation (r=.752) With statistical significance at the .01 level
คำสำคัญ
ความฉลาดทางอารมณ์, การใช้อำนาจKeyword
The emotional intelligence, The powerกำลังออนไลน์: 90
วันนี้: 2,073
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,272
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093