บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และหาอำนาจพยากรณ์ปัจจัยทางด้านวิชาการที่ส่งผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ และหาแนวทางการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research) กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 358 คน ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านปัจจัยทางด้านวิชาการที่ส่งผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.704 – 0.923 มีค่าความเชื่อมั่น 0.991 และความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.388 – 0.867 มีค่าความเชื่อมั่น 0.947 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, F-test (One way ANOVA) ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของ เพียร์สัน (Pearson product-moment correlation) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อปัจจัยทางด้านวิชาการและความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อปัจจัยทางด้านวิชาการ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
3. ผู้บริหารและครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยทางด้านวิชาการ โดยภาพรวมและรายด้านเกือบทุกด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการใช้นวัตกรรมทางการบริหารเพียงด้านเดียวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่าง
4. ปัจจัยทางด้านวิชาการและความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ปัจจัยด้านการใช้นวัตกรรมทางการบริหาร ด้านการมีทักษะ ความรู้ ความรับผิดชอบ และประสบการณ์ด้านการบริหารงาน และด้านการรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ มีอำนาจพยากรณ์ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ใน 3 ด้าน คือ ด้านการใช้นวัตกรรมทางการบริหาร ด้านการมีทักษะ ความรู้ ความรับผิดชอบและประสบการณ์ด้านการบริหารงาน และด้านการรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
Abstract
The purposes of this study were to compare the correlation that find out the predicted power of the academic factors affecting teachers’ ability in learning management in Schools under Buengkan Primary Educational Service Area Office and find the guidelines to improve of teachers’ ability in learning management under Buengkan Primary Educational Service Area Office that use the correlation research process. The sample consisted of 358 administrators and teachers in the academic year 2559. The instruments of research include two rating scale questionnaires are the academic factors to affect teachers’ ability in learning management; the discriminative power is 0.704 – 0.923, the reliability is 0.991 and the teachers’ ability in learning management the discriminative power is 0.388 – 0.867, the reliability is 0.947. The statistical was analyzed are percentage, mean, standard deviation. The Hypothesis testing was used t-test, F-test (One way ANOVA), pearson product-moment correlation and stepwise multiple regression analysis.
The results of the study were as follows:
1. The administrators and teachers had the opinions that affect to the academic factors and level of teachers’ ability in learning management to appear of result are high level.
2. The administrators and teachers had the opinions that affect to the academic factors are statistically significantly at .05 level while the level of teachers’ ability in learning management are not significantly different.
3. The administrators and teachers that operation in different schools had the opinions that affect to the academic factors are not different all except using administrative innovation significantly differed at .05 level. And the level of teachers’ ability in learning management, in general and in particular, are not different.
4. The academic factors and teachers’ ability in learning management under Buengkan Primary Educational Service Area Office are positive correlation; statistically significantly at .01 level.
5. The Factors of using administrative innovation, the skills, knowledge and experience in responsible management and performance reporting system in categories that have predicted power about the overviews of teachers’ ability in learning management are statistically significantly at .01 level.
6. The study of this research to offer the guidelines for improving to teachers’ ability in learning management under Buengkan Primary Educational Service Area Office that 3 categories; using administrative innovation, the skills, knowledge and experience in responsible management and performance reporting system.
คำสำคัญ
ปัจจัยทางด้านวิชาการ, ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูKeyword
The Academic Factors, Teachers’ Ability in Learning Managementกำลังออนไลน์: 38
วันนี้: 398
เมื่อวานนี้: 1,728
จำนวนครั้งการเข้าชม: 63,403
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093