...
...
เผยแพร่: 18 ธ.ค. 2565
หน้า: 247-255
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 221
Download: 157
Download PDF
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3
The Relati0nship Between Transformational Leadership and Decision - Making Behavior of The School Administrators Under Chaiyaphum Educational Service Area Office 3
ผู้แต่ง
อธิชา มีศักดิ์, ปณิธาน วรรณวัลย์
Author
Aticha Meesak, Panithan Wannawan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 437 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie และ Morgan โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม จำนวนทั้งหมด 3 ตอน ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .25 - .75 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 ตอนที่ 3 พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .26 - .80 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้

ผลการวิจัย พบว่า

1. ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล รองลงมา ได้แก่ ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ

2. ระดับพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมอบหมายการตัดสินใจ รองลงมา ได้แก่ ด้านการตัดสินใจแล้วแจ้งให้ทราบ ด้านการตัดสินใจโดยกำหนดขอบเขตปัญหา ด้านการตัดสินใจแล้วโน้มน้าว ด้านการตัดสินใจและเปิดโอกาสให้ถาม ด้านการตัดสินใจแล้วเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น และด้านการตัดสินใจโดยแสวงหาข้อมูล

3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงมาก

Abstract

This research purposed to 1) study the transformational leadership of the school administrators under Chaiypahum Educational Service Area Office 3 (CPM ESAO3), 2) study decision-making behavior of the school administrators under CPM ESAO3, and 3) study the relationship between transformational leadership and decision-making behavior of the school administrators under CPM ESAO3. The samples were 437 teachers and education personnel under CPM ESAO3 in the academic year 2563. The sample size obtained by using Krejcie and Morgan Table and then employed multi-stage random sampling. The instrument was a set of questionnaires consisted of 3parts: the first part was about the general status of the respondents; the second part was a 5-rating scale about the transformational leadership of the school administrators with the discrimination of .25-.75 and the reliability at .95; the third part was a 5-rating scale about the decision-making behavior of the school administrators with the discrimination of .26-.80 and the reliability at .94. The data were analyzed using. frequency, mean, standard deviation and tested the hypothesis by Pearson's product-moment correlation (rxy)

The results were as follows:

1. The level of the transformational leadership of the school administrators under CPM ESAO3 overall was at the highest level. When considering each aspect, the highest mean was Individualized consideration, Intellectual stimulation, the idealized influence of charismatic leadership, and the lowest mean was Inspiration and motivation.

2. The decision-making behavior of school administrators under CPM ESAO3 overall was at the highest level. When considering each aspect, the highest mean was to permit subordinates to function within limits defined by superior, followed by making a decision and announce it; defining limits and asking group to make decision; defining limits and asking the group to make decisions; selling decisions; presenting ideas and inviting questions; presenting a tentative decision subject to change; presenting problems and suggestions and making decisions.

3. The relationship between transformational leadership and decision-making behavior of the school administrators under CPM ESAO3 had a positive correlation at a very high level in all aspects at a statistically significant level of .01.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, พฤติกรรมการตัดสินใจ, ความสัมพันธ์

Keyword

Transformational leadership, Decision-making behavior, School administrators

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093