บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียน และ 3) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 320 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านแรงบันดาลใจ ( = 4.49) ด้านการมีวิสัยทัศน์ ( = 4.48) ด้านการทำงานเป็นทีม (= 4.47) ด้านการมีความยืดหยุ่น (= 4.46) และด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ( = 4.33) ตามลำดับ
2. ประสิทธิผลของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประสิทธิผลของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน คือ ด้านบรรยากาศของโรงเรียนและการมีส่วนร่วมของชุมชน ( = 4.51) และประสิทธิผลของโรงเรียน อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ( = 4.44) และด้านคุณภาพการเรียนการสอนของครู ( = 4.40) ตามลำดับ
3. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน ได้ดีทั้งหมด 3 ด้าน คือ การมีวิสัยทัศน์ การมีความยืดหยุ่น และการทำงานเป็นทีม สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ได้ร้อยละ 56.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purposes of this research were to 1) study creative leadership level of school administrators, 2) study effectiveness of schools, and 3) study creative leadership that affects school effectiveness. Under the Office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 2. Mind in teacher’s practice The sample group was 320 teachers under the Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office, Academic Year 2019, specifying the sample size by using ready-made tables of Crazy and Morgan. Rating Scales Questionnaire Tool used statistical package for data analysis. By distributing the frequency (Frequency), the percentage (Percentage), the mean and the standard deviation (Standard Deviation), multiple Regression analysis. and analyzing the stepwise multiple regression analysis.
The results of the research were as follows:
1. The study creative leadership level of school administrators as a whole, it was at a high level ( = 4.44). When considered individually, found that It was at a high level in 5 areas aspect: The aspirations are in the highest average ( = 4.49), followed by vision ( = 4.48), flexibility ( = 4.47) and innovation and technology ( = 4.33).
2. Study effectiveness of schools were at a high level ( = 4.43). When considered individually, it was found that It was at the highest level in 2 areas aspect were the school atmosphere and community involvement
( = 4.51), study effectiveness of schools were in a high level in 2 areas aspect: academic achievement ( = 4.44) and the teacher teaching quality ( = 4.40).
3. Study creative leadership that affects school effectiveness. Under the Office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 2, they can jointly forecast School effectiveness performance in 3 areas aspect: The vision, The flexibility and team work. Able to jointly forecast the affects school effectiveness Under the Office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 2 get 56.60 percent
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ประสิทธิผลของโรงเรียนKeyword
Creative Leadership, school effectivenessกำลังออนไลน์: 83
วันนี้: 2,009
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,208
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093