บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังด้านสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังด้านสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถาน ศึกษา จากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา 35 คน และบุคลากรทางการศึกษา 284 คน เครื่องมือคือแบบสอบถาม ค่าคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 – 1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.42-0.86 และค่าความเชื่อมั่น 0.98 ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยวิธีการตีความและสร้างข้อสรุปแล้วนำเสนอแบบพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับสภาพปัจจุบันของสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และมีสภาพที่คาดหวังของสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมมีค่า PNI Modified = 0.14 โดย สมรรถนะในการใช้และบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและ สมรรถนะในการประเมินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ(PNI Modified = 0.15) และสมรรถนะในการส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (PNIModified = 0.13) ตามลำดับ
2. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรศึกษานโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดและลักการบริหารใหม่ ๆ เพื่อนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ พัฒนาตนเองและองค์กรให้ใช้สถิติประมวลผลข้อมูลและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวัดและประเมินผล มีหลักการและแนวทางการนิเทศติดตามการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณในการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งเสริมให้จัดตั้งแหล่งเรียนรู้ และสร้างกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนในการพัฒนาตนเองและพัฒนางาน ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่หลากหลาย
Abstract
The objectives of this research were 1) Study the current state and expectations of information technology competency of educational administrators. 2) to study the guidelines for the development of information technology competences of educational institution administrators. The research was divided into 2 phases. Phase 1 studied the level of current conditions and expectations of Information technology competency for the site administrators. From the sample group is 35 school administrators and 284 educational personnel. The tool was a questionnaire. The Index of Objectives Congruence (IOC) value 0.80–1.00, the classification power between 0.42 - 0.86 and the confidence value 0.98, From the target group of 9 people, the tool is the interview form and the content analysis of the information obtained from the interview is presented in a descriptive form.
The results of the research were as follows:
1. The current level of information technology competence of educational institution administrators Overall and each aspect is at a high level. And the expected condition of the information technology competence of the administrators in general and in each aspect was at the highest level. The results of the analysis of the needs index of information technology competency of the school administrators as a whole were (PNIModified = 0.14). The competency in the use and management of information technology and the competency in assessing the use of information technology (PNIModified = 0.15). And competence in promoting the use of information technology (PNIModified = 0.13) respectively.
2. The guidelines for the development of information technology competency of the educational institute administrators should study the policies of the parent agency and new administration principles. to be formulated as a strategy and the information technology implementation plan of the educational institutes in a systematic manner. Develop yourself and your organization to use statistics to process data and use information technology for measurement and evaluation. There are principles and guidelines for monitoring the use of information technology in management. As well as allocate the budget for the procurement of materials information technology equipment. promote the establishment of learning resources and create a network of cooperation in information technology for education. Promote the development of teachers and personnel to use information technology for self-development and job development. with various information technology.
คำสำคัญ
สมรรถนะ, เทคโนโลยีสารสนเทศ, สมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ, แนวทางการพัฒนาKeyword
competence, information technology, information technology competence, development guidelinesกำลังออนไลน์: 84
วันนี้: 1,951
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,150
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093