บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษาต่อทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ และขนาดสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 437 คน ประกอบด้วยครูผู้สอน จำนวน 310 คน และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 127 คน ได้มาโดยการใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan แล้วทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ที่ .961 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .398-.620 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติ t-test แบบ Independent Samples และสถิติ F-test แบบ One-way ANOVA ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษาต่อทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะด้านการสื่อสาร รองลงมา ได้แก่ ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยี ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ทักษะด้านการทำงานเป็นทีม และทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์ ตามลำดับ
2. ครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 มีความคิดเห็นต่อทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน
3. ครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ที่มีขนาดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน
4. ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ที่สำคัญ ดังนี้ ผู้บริหารควรมีวิจารณญาณในการใช้ข้อมูลข่าวสาร รู้เท่าทันและตรวจสอบข้อมูลก่อนนำมาประยุกต์ใช้ ผู้บริหารควรสร้างเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยนำสื่อและเทคโนโลยีมาใช้ ผู้บริหารควรกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ โดยเน้นหลักการทำงานเป็นทีม ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้บุคลากรได้ทำงานตามศักยภาพ ผู้บริหารควรแสวงหาความรู้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน โดยมีการวางแผนที่พัฒนาตนเองด้วยการศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ และผู้บริหารควรเป็นที่พึ่งคอยชี้แนะแนวทางและให้คำปรึกษา โดยสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลอื่น
Abstract
This research purposed to 1) study the 21stcentury administration skills of the school administrators under Chaiyaphum Educational Service Area Office 3 based on the teachers’ and the school administrators’ opinions, 2) compare the teachers’ and the school administrators’ opinions towards the 21stcentury administration skills of the school administrators classified by work position and school size, and 3) study the recommendations for developing the 21stcentury administration skills of the school administrators under Chaiyaphum Educational Service Area Office 3. The samples were 437 teachers and administrators, consisted of 310 teachers and 127 school administrators under Chaiyaphum Educational Service Area Office 3 in the second semester of the academic year 2020. The sample size obtained using Krejcie and Morgan Table and then employed stratified random sampling. The instruments in this study were a set of 5-rating scale questionnaires with the reliability of .961 and discrimination range from .398-.620, and a structured interview. Statistics used for analyzing the data consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation. The hypothesis tested using t-test independent samples and variance used F-test One-way ANOVA. Qualitative data used content analysis methods.
The results were as follows:
1. The level of the teachers' and school administrators' opinions towards the 21stcentury administration skills of the school administrators under Chaiyaphum Educational Service Area Office 3 overall was at a high level. When considering each aspect, communication skills were at the highest mean, followed by using technology skills, human relations, teamwork, and creative thinking skills, respectively.
2. The teacher and administrators classified by work position towards the 21stcentury administration skills of the school administrators under Chaiyaphum Educational Service Area Office 3, overall and each aspect were not different.
3. The opinions of the teachers and administrators from different school sizes toward the 21stcentury administration skills of the school administrators under Chaiyaphum Educational Service Area Office 3, overall and each aspect were not different.
4. The recommendations for developing the 21stcentury administration skills of the school administrators under Chaiyaphum Educational Service Area Office 3 consisted of communication skills: the school administrators should have the discretion to use information, wisely checked the information before applying it, using technology skills: the school administrators should build a learning community network by adopting media and technology, teamwork skills: the school administrators should encourage the staffs to work at their capability focuses on principles of teamwork, promote them the opportunity to work with their potentiality, creative thinking skills: the school administrators should seek knowledge to apply in their work with a self-developed plan of learning through various sources regularly, and human relationships skills: the school administrators should be relied upon to guide and give advice to the staffs by building credibility and trust, have good interpersonal relationships with other people This research purposed to 1) study the 21stcentury administration skills of the school administrators under Chaiyaphum Educational Service Area Office 3 based on the teachers’ and the school administrators’ opinions, 2) compare the teachers’ and the school administrators’ opinions towards the 21stcentury administration skills of the school administrators classified by work position and school size, and 3) study the recommendations for developing the 21stcentury administration skills of the school administrators under Chaiyaphum Educational Service Area Office 3. The samples were 437 teachers and administrators, consisted of 310 teachers and 127 school administrators under Chaiyaphum Educational Service Area Office 3 in the second semester of the academic year 2020. The sample size obtained using Krejcie and Morgan Table and then employed stratified random sampling. The instruments in this study were a set of 5-rating scale questionnaires with the reliability of .961 and discrimination range from .398-.620, and a structured interview. Statistics used for analyzing the data consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation. The hypothesis tested using t-test independent samples and variance used F-test One-way ANOVA. Qualitative data used content analysis methods.
คำสำคัญ
ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21, ผู้บริหารสถานศึกษา, การบริหารสถานศึกษาKeyword
The 21stcentury administration skills, School administrators, School administrationกำลังออนไลน์: 84
วันนี้: 1,951
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,150
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093