บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์หาอำนาจพยากรณ์ และแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 323 คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 82 คน และครูผู้สอน จำนวน 241 คน ได้มาดดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .259 – .840 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .977 และแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .279 – .849 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .935 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ทีละขั้นตอน (Multiple Regression Analysis) โดยใช้วิธีวิเคราะห์ Stepwise
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า ประสิทธิผลโรงเรียนโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .828
6. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านภาวะผู้นำ (X2) ด้านความรู้ ความสามารถในการบริหาร (X1) และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (X7) สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้
สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้ Y’ = .188 + .384 X2 + .341 X1 + .226 X7
และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Z’ = .406 Z2 + .347 Z1 + .228 Z7
7. แนวทางยกระดับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน มี 3 ด้าน คือ ด้านภาวะผู้นำ โดยผู้บริหารเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ ด้านความสามารถในการบริหารโดยผู้บริหารมีความรู้ความสามารถ สามารถแก้ไขปัญหาได้ กล้าคิดตัดสินใจ และมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผู้บริหารสามารถใช้สารสนเทศในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing administrators’ desirable characteristics affecting school effectiveness under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2. The samples consisted of 82 school administrators and 241 teachers working under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2, yielding a total of 323 participants. The instruments for data collection included sets of 5-point rating scale questionnaires on the administrators’ desirable characteristics and the school effectiveness with the discriminative power ranging from .259 to .840 and .279 to .849, and the reliability of .977 and .935, respectively. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The administrators’ desirable characteristics were overall at a high level.
2. The school effectiveness was overall at a high level.
3. The overall administrators’ desirable characteristics as perceived by participants, classified by positions and work experience were not different, whereas in terms of school sizes, overall, there were different at the .01 level of significance.
4. The overall school effectiveness as perceived by participants classified by positions and work experience showed no differences, whereas in terms of school sizes, the overall school effectiveness was different at the .01 level of significance.
5. The administrators’ desirable characteristics was positively correlated with the school effectiveness at a high level in overall at the .01 level of significance with the correlation coefficient of .828
6. The three aspects of administrators’ desirable characteristics could predict the school effectiveness at the .01 level of significance, namely leadership (X2), administrative competences (X1), and information technology (X7). The predictive equation could be constructed in unstandardized scores and standardized scores as follows: Y’ = .188 + .384 X2 + .341 X1 + .226 X7 Z’ = .406 Z2 + .347 Z1 + .228 Z7
7. The proposed guidelines for developing administrators’ desirable characteristics affecting school effectiveness under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2 consisted of three aspects: Leadership, administrators are seen as school leaders who lead the way in driving the school success; Administrative Competence, administrators should have knowledge and competency in solving problems, make brave decisions, and pursue self-development continuously; and Information Technology, administrators should utilize information for administrative management efficiently.
คำสำคัญ
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร, ประสิทธิผลโรงเรียนKeyword
Administrators’ Desirable Characteristics, School Effectivenessกำลังออนไลน์: 90
วันนี้: 2,068
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,267
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093