...
...
เผยแพร่: 18 ธ.ค. 2565
หน้า: 175-184
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 1744
Download: 348
Download PDF
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
The development guidelines of digital leadership for school administrators Under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 5
ผู้แต่ง
ภานุเดช แสงลุน, ชยากานต์ เรืองสุวรรณ
Author
Phanudet Saenglun, Chayakan Ruangsuwan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาระดับสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู 487 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 – 1.00  มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.57-0.88 ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการตีความและนำเสนอแบบพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า

1. ระดับสภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่คาดหวังของภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมมีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ผู้นำทางดิจิทัล (PNIModified = 0.67)  ด้านความสมารถทางดิจิทัล (PNIModified = 0.64) ด้านการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทางดิจิทัล (PNIModified = 0.56)  และด้านการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาทางดิจิทัล (PNIModified = 0.28) ตามลำดับ

2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดวิสัยทัศน์ด้านดิจิทัล นโยบาย การวางแผนเพื่อพัฒนาสถานศึกษาและพัฒนาการบริหารจัดการในด้านการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาพร้อม จัดสรรทรัพยากรด้านดิจิทัลเพื่อการนำมาสนับสนุนกิจกรรมการวางแผน ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายทางการเรียนรู้ให้สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและครูมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ รวมถึงส่งเสริมให้ครูและบุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจถึงเทคโนโลยีดิจิทัลที่จำเป็นในการปฏิบัติงานและนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย

Abstract

The objectives of this research were study the level of current and expected conditions of digital leadership for school administrators and the study the development guidelines of digital leadership for school administrators. The research was divided into two phases. Phase (I) was studying level of the current and expected conditions guidelines of digital leadership for the school administrators. The sample group was 487 people. The research instrument was a questionnaire 0.80 – 1.00 of Index of Objectives Congruency and 0.97 of reliability, 0.57 – 0.88 of discrimination. Phase (II) was the studying of development guidelines of digital leadership for school administrators, the instrument used in the phase was structured interview with the content analysis and descriptive analysis of 9 qualified subjects.

The findings were as follows:

1. The level of current of digital leadership for school administrators overall and each aspect was at a moderate level, The expected condition of digital leadership for school administrators overall and each aspect was at the highest level. The priority needs index to develop digital leadership of school administrators in total there are 4 aspects: The digital leadership vision (PNIModified = 0.67), digital competence (PNIModified = 0.64), Building a digital learning network (PNIModified = 0.56) and promote supported digital developments (PNIModified = 0.28)

2. It concerned the development guidelines of digital leadership for school administrators, is that administrators should have a digital vision and policies plans to develop educational institutions and develop management in information collection. The used of digital technology in track and evaluate the for performance. The digital resources are allocated to support planed activities, promote supported the creation of learning networks, the digital technology can be used to encourage teachers to participate in defined professional development activities. It include the encouraged teachers have a knowledge and understands of the digital technology for necessary to operate and applied digital technology to management learn in various forms.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำ, ดิจิทัล, ภาวะผู้นำด้านดิจิทัล

Keyword

leadership, Digital, Digital Leadership

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093