บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 และ 4) เพื่อสร้างสมการทำนายการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 327 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie และ Morgan และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มี 2 ตอน คือ ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษามีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .43 - .79 และมีค่าความเชื่อมั่น .96 และความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .38 - .91 และมีค่าความเชื่อมั่น .95 และสถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความคิดเชิงระบบ รองลงมา ได้แก่ ด้านความรอบรู้ แห่งตนด้านการเรียนรู้เป็นทีม ด้านแบบแผนความคิด และด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ตามลำดับ
2. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม รองลงมา ได้แก่ ด้านบรรยากาศองค์การ ด้านเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และด้านโครงสร้างองค์การที่เหมาะสม ตามลำดับ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 พบว่า โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านโครงสร้างองค์การที่เหมาะสมมีความสัมพันธ์กับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์การ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมและด้านเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ตามลำดับ
4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ได้ร้อยละ 53.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถสร้างสมการถดถอยในรูปแบบคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ สมการทำนายในรูปคะแนนดิบ = 1.324 + 0.190(X1) + 0.152(X2) + 0.115(X3) + 0.097(X4)
สมการทำนายในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน z = 0.0298(Z1) + 0.235(Z2) + 0.194(Z3) + 0.162(Z4)
Abstract
This research purposed to 1) study the level of learning organization of schools under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1, 2) study the factors affecting learning organization of schools under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1, 3) To study the relationship between the factors affecting the learning organization of schools under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1, and 4) conduct prediction equation between the factors affecting learning organization of schools under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1. The samples in this research were 327 school administrators and teachers under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1, the academic year 2020. The sample size was obtained from Krejcie and Morgan Table and employed multi-stage random sampling. The instrument in this research was a set of 5-rating scale questionnaires consisted of 2 parts: the first part was on the opinion learning organization of schools questionnaires with the discrimination between .43 - .79 and the reliability of .96., and the second part was on factors affecting learning organization of schools questionnaires with the discrimination between .38 - .71 and the reliability of .95. The statistics used included frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson correlation coefficient, and multiple regression analysis.
The results were as follows:
1. The condition of being a learning organization of schools under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1 according to the opinions of the school administrators and teachers overall were at the highest level. When considering each aspect, the highest mean was systematic thinking. It was followed by personal mastery, team learning, thinking patterns and having a shared vision, respectively.
2. The factors level affecting learning organization of schools under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1 towards the opinions of schools administrators and teachers overall was at the highest level. When considering each aspect, the sharing vision had the highest mean. It was followed by the organizational climate, technology facilitates learning, and appropriate organizational structure, respectively.
3. The relation between factors affecting learning organization of schools under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1 found that the overall had a positive relationship at a high level significantly different at the level of .01. When considering each aspect, the appropriate organizational structure had a relation with being a learning organization at the highest level. It was followed by an organizational climate, sharing vision, and technology that facilitates learning, respectively.
4 Factors affecting learning organization of schools in the aspects of the appropriate organization structure, sharing a vision, organizational climate, and technology that facilitates learning could predict the learning organization of schools under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1 at 53.90 percent with significantly different at the level of .01 and could be conducted the row and standard score of regression as follows: Row Score regression equation Y = 1.324 + 0.190(X1) + 0.152(X2) + 0.115(X3) + 0.097(X4) Standard Score regression equation z = 0.0298(Z1) + 0.235(Z2) + 0.194(Z3) + 0.162(Z4)
คำสำคัญ
องค์การแห่งการเรียนรู้Keyword
Learning Organizationกำลังออนไลน์: 79
วันนี้: 2,083
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,282
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093