บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนต่อตลาดค้าปลีก 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนที่ส่งผลต่อตลาดค้าปลีก และ 3) เสนอรูปแบบที่เหมาะสมของภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ตลาดค้าปลีกในเขตเทศบาลอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการค้าปลีกในเขตเทศบาลอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 161 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจค้าปลีกในเขตเทศบาล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 6 ท่าน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง แล้วนำมาเขียนเป็นข้อมูลเชิงพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนต่อตลาดค้าปลีก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลสัมฤทธิ์ของภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนที่ส่งผลต่อตลาดค้าปลีก ได้แก่ การปฏิบัติตามนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชน (X4) กฎหมายและข้อสัญญาการลงทุนของภาครัฐ (X2) การปฏิบัติตามข้อสัญญาที่รัฐกำหนดของภาคเอกชน (X5) และนโยบายของภาครัฐ (X1) มีประสิทธิภาพในการทำนาย ร้อยละ 76.20 สามารถเขียนเป็นสมการการถดถอยได้ดังนี้ = 0.404 + 0.268(X4) + 0.198(X2) + 0.261(X5) + 0.180(X1)
3. รูปแบบที่เหมาะสมของภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในการบริหารจัดการตลาดค้าปลีก จากผลการสังเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ภาครัฐมีหน้าที่ในการกำกับดูแลการค้าให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ส่งเสริมความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาคเอกชนในการร่วมลงทุน พัฒนาระบบแอพพลิเคชั่น เว็บไซต์ที่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย
Abstract
This research aiming to: 1) study the public - private partnership affecting the retail market, 2) study the achievement of PPP affecting the retail market, and 3) propose an appropriate model of public - private partnership affecting success of retail market. The mixed research methodology was used in the study. For quantitative study, the sample group consisted of 161 retail entrepreneurs. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. And, for qualitative study, the data were collected from 6 key informants involving in retail business, selected by using purposive sampling method and then the obtained information was presented in descriptive form.
The research results were as follows:
1. The public - private partnership affecting the retail market was overall at the highest level,
2. The achievement of public-private partnership affecting the retail market included compliance with private investment promotion policy (X4), government investment law and contract (X2), compliance with public sector contracts of private sector (X5), and public policies (X1). The predictive efficiency was at 76.20 percent. And, the regression equation could be written as follows: = 0.404 + 0.268(X4) + 0.198(X2) + 0.261( X5) + 0.180(X1),
3. From the results of the data synthesis, the appropriate model of public-private partnership in retail market management was that the government had a duty to oversee fair competition in trading, promoted partnership with private partners in joint investment, and developed application system and website which entrepreneurs and consumers could easily access
คำสำคัญ
ภาคีความร่วมมือภาครัฐภาคเอกชน, ผลสัมฤทธิ์, ตลาดค้าปลีกKeyword
Public-private partnership, achievement, retail marketกำลังออนไลน์: 85
วันนี้: 1,927
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,126
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093