...
...
เผยแพร่: 18 ธ.ค. 2565
หน้า: 103-113
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 205
Download: 150
Download PDF
การบริหารตามแนวทศพิธราชธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
School Administration According to the Ten Royal Virtues of the Righteous King of Administrators Affecting the Schools’ Effectiveness under Mukdahan Primary Educational Service Area Office
ผู้แต่ง
ณัฐมน สมตน, สายันต์ บุญใบ, สุมัทนา หาญสุริย์
Author
Nathamon Somton, Sayan Boonbai, Sumattana Hansuri

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับ เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ และศึกษาอำนาจพยากรณ์และหาแนวทางการพัฒนาการบริหารตามแนวทศพิธราชธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร  ปีการศึกษา 2564 จำนวน 339 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 73 คน และครูผู้สอน จำนวน 226 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนและได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์  คุณภาพของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33-0.89 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารตามแนวทศพิธราชธรรมของผู้บริหาร มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 และแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t - test) ชนิด Independent Samples การทดสอบเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. การบริหารตามแนวทศพิธราชธรรมของผู้บริหาร โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

2. ประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. การบริหารตามแนวทศพิธราชธรรมของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ไม่แตกต่างกันทั้งโดยรวม และรายด้าน จำแนกตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

4. ประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า ไม่แตกต่างกันทั้งโดยรวมและรายด้าน จำแนกตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. การบริหารตามแนวทศพิธราชธรรมของผู้บริหาร โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลโรงเรียนโดยรวม อยู่ในระดับสูง (rxy) .739 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 

6. การบริหารตามแนวทศพิธราชธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ที่นำมาวิเคราะห์จำนวน 10 ด้าน พบว่า มี 7 ด้านที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ อักโกธะ (X7) อวิโรธนะ (x10) ศีล (x2) อวิหิงสา (x8) และทาน (X1) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ด้าน  ได้แก่  อาชชวะ (x4) และขันติ (x9) โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 64.00  

7. แนวทางการพัฒนาการบริหารตามแนวทศพิธราชธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน จำนวน 7 ด้าน ประกอบด้วย ด้านทาน พัฒนาและประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านศีล โดยควรส่งเสริมให้ผู้บริหารโรงเรียนประพฤติปฏิบัติตนตามคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านอาชชวะ สร้างความตระหนัก ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี  ด้านอักโกธะ ไม่ลำเอียง ไม่มีอคติ ยึดความถูกต้องเป็นหลัก ด้านอวิหิงสา โดยควรวางตนเป็นกลางให้ความเป็นธรรม ด้านขันติ  โดยควรเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านความอดทน ด้านอวิโรธนะ โดยควรประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี  มีความเชื่อมั่นในตนเอง หนักแน่น และบริหารงานด้วยความยุติธรรม

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, identify the relationship, determine the predictive power, and establish guidelines for developing administration according to the Ten Royal Virtues of the Righteous of administrators affecting the schools’ effectiveness. The correlation research was conducted with 339 participants working under Mukdahan Primary Educational Service Area Office in the academic year 2021, consisting of 73 school administrators and 226 teachers, determined using Krejcie and Morgan sample size determination table and multi-stage random sampling. The instruments for data collection were an interview form and a set of questionnaires with a discriminative power ranging from 0.33 to 0.89 and the reliability of 0.97, covering two parts: school administration according to the Ten Royal Virtues of the Righteous King with the reliability of 0.94 and the schools’ effectiveness with the reliability of 0.99. The interview form was also constructed focusing on guidelines for developing administration according to the Ten Royal Virtues of the Righteous King of administrators affecting the schools’ effectiveness. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, One-Way ANOVA, Pearson's product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings revealed that:

1. The administration according to the Ten Royal Virtues of the Righteous King was at the highest level.

2. The school effectiveness was at a high level.

3. The administration according to the Ten Royal Virtues of the Righteous King was classified by positions as a whole and each aspect showed no differences, whereas, in terms of school sizes and work experience, as a whole, there was a difference at the .01 level of significance.

4. The school effectiveness, classified by positions, showed no differences as a whole and each aspect, whereas, in terms of school sizes and work experience, there was a difference at the .01 level of significance.

5. The administration according to the Ten Royal Virtues of the Righteous King had a positive correlation with the schools’ effectiveness at a high level (rxy) of .739 with the .01 level of significance.

6. The administration according to the Ten Royal Virtues of the Righteous King of administrators affected the schools’ effectiveness consisting of seven aspects. The five aspects could predict the schools’ effectiveness at the .01 level of significance, namely Akkodha (X7), Avirodhana (X10), Sila (X2), Avihimsa (X8), and Dana (X1). The two aspects, namely Ajava (X4) and Khanti (X9) could achieve at the .05 level of significance. The said variables could predict the schools’ effectiveness with 64.00 percent. The regression equation could be written in raw scores and standard scores as follows:

Y’ = .912 +.524 (X7) +.322 (X10) +.330(X2)+.323 (X8) +.142 (X4)+.116 (X1)+.157 (X9) Z=.584 (X7) +.377 (X10) +.368 (X2)+.347 (X8) +.152 (X4)+.139 (X1)+.176 (X9)

7. The guidelines for developing administration according to the Ten Royal Virtues of the Righteous King of administrators affecting the schools’ effectiveness consisted of seven aspects: Dana: being givers, and role models. Sila: maintaining good conduct following professional morals and ethics. Ajava: building awareness and being good role models performing strictly adhering to the rules and regulations set by the government. Akkodha: being role models, adhering to reasons and righteousness. Avihimsa: School administrators should be neutral, fair, and kind to others. Khanti: being good models in terms of patience. Avirodhana: being role models in terms of self-confidence, self-control, and fair management.

คำสำคัญ

การบริหารตามแนวทศพิธราชธรรม, ประสิทธิผลโรงเรียน

Keyword

Ten Royal Virtues of the Righteous King, School Administration, School Effectiveness

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093