...
...
เผยแพร่: 18 ธ.ค. 2565
หน้า: 82-92
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 420
Download: 246
Download PDF
แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท ตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม
Approaches for Developing Academic Management of Secondary Schools in Chainat Province Based on The Concept of Non-Cognitive Skills
ผู้แต่ง
เรวัตร อยู่เกิด, สุกัญญา แช่มช้อย
Author
Rawat Yukerd, Sukanya Chaemchoy

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท ตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท ตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม ประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท จำนวน 13 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 11 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 10 คน และครูจำนวน 205 คน รวมจำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ฐานนิยม และการจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNImodified)

ผลการวิจัย พบว่า

1. การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาทที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร รองลงมา คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ตามลำดับ ซึ่งการบริหารวิชาการทั้งหมดมีองค์ประกอบทักษะทางพฤติกรรมที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ความมั่นคงทางอารมณ์

2. แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาทตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น 3 อันดับ มีทั้งหมด 3 แนวทาง ดังนี้ (1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ ทักษะทางพฤติกรรมด้านความมั่นคงทางอารมณ์ (2) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ทักษะทางพฤติกรรม ด้านความมั่นคงทางอารมณ์ (3) พัฒนาการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ทักษะทางพฤติกรรมด้านความมั่นคงทางอารมณ์

Abstract

This study was descriptive method research. Its purpose was to study the current states, desirable states and priority needs for developing academic management of secondary schools in Chainat province based on the concept of non-cognitive skills. The population is 13 secondary schools in Chainat province under the secondary educational service area office Uthaithani Chainat. The total research informants was 226 informants including 11 school directors, 10 deputy directors and 205 teachers. The research instrument were rating scale questionnaire and rating scale appropriateness and possibility of evaluation form. Quantitative data were analyzed by descriptive statistics to acquire mode and a Modified Priority Needs Index (PNImodified).

The research results were:

1. The first priority needed for academic management was developing a school curriculum. The second priority needed for academic management was developing students’ learning process. The third priority needed of academic management was measurement and evaluation. The scope of those three aspects of academic management had the highest needed component of non-cognitive skills is emotional stability.

2. The 3 approaches for developing academic management of secondary schools in Chainat province based on the concept of non-cognitive skills were (1) developing a school curriculum focusing on non-cognitive skills learning outcomes of emotional stability. (2) developing students’ learning process focusing on non-cognitive skills learning outcomes of emotional stability. (3) developing authentic measurement and evaluation focusing on non-cognitive skills learning outcomes of emotional stability

คำสำคัญ

บริหารวิชาการ, ทักษะทางพฤติกรรม, มัธยมศึกษา, ความมั่นคงทางอารมณ์

Keyword

Academic Management, Non-Cognitive Skills, Secondary school, Emotional stability

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093