บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับ เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ และศึกษาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 308 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 86 คน และครูผู้สอน จำนวน 222 คน จากนั้นผู้วิจัยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Random Sampling) โดยจำแนกตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.99 และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.99 มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จากมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t - test) ชนิด Independent Samples การทดสอบเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน โดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก (r = 0.957) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน จำนวน 7 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนได้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาครูและบุคลากร ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการจูงใจ และด้านการติดต่อสื่อสาร โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 92.00
7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน เสนอแนะไว้ 7 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาครูและบุคลากร ควรสนับสนุนให้ครูอบรมสัมมนาทางวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ผู้บริหารควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ไต้บังคับบัญชาด้านงบประมาณ ควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม ควรส่งเสริมให้บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรส่งเสริมการเก็บข้อมูลสาระสนเทศอย่างเป็นระบบด้านการจูงใจ ผู้บริหารควรเป็นที่ปรึกษาให้กับบุคลากร และด้านการติดต่อสื่อสาร ควรส่งเสริมให้ผู้บริหารใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการติดต่อสื่อสาร
Abstract
The purposes of this research were: to examine the level, to compare, to find out the relationship and to identify the predictive power of administrative factors and the Effectiveness of Academic Administration in Schools Under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office as perceived by school administrators and teachers; and to establish the guidelines for developing administrative factors affecting the Effectiveness of Academic Administration in Schools. The samples consisted of a total of 308 participants including 86 school administrators and 222 teachers in schools Under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office in the 2021 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires concerning Administrative Factors with the reliability of 0.99 and Effectiveness of Academic Administration in Schools with the reliability of 0.99. The statistics used foe data analysis were mean, standard deviation, t-test (Independent Samples), F – test (One – Way ANOVA), Pearson Product-Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. The school administrative factors as a whole and each aspect were at a highest level.
2. The Effectiveness of Academic Administration in Schools as a whole and each aspect were at a highest level.
3. The school administrative factors with different position, school sizes and work experience, as a whole were different at a statistical significance of the .01 level.
4. The Effectiveness of Academic Administration in Schools with different position, school sizes and work experience, as a whole were different at a statistical significance of the .01 level.
5. The school administrative factors and the Effectiveness of Academic Administration in Schools, as a whole had a positive relationship at the statistical significance of the .01 level.
6. The school administrative factors comprised four aspects. The seven factors were able to predict the Effectiveness of Academic Administration in Schools at the statistical significance of the .01 level. The said factors comprised: Teacher and Personnel Development, administrators leadership, budget, participatory management, information technology. The factor which was at the statistical significance of the .05 level was motivation and communication.
7. The guidelines for developing administrative factors affecting the Effectiveness of Academic Administration in Schools involved seven aspects: Teacher and Personnel development; teachers should be encouraged to conduct academic seminars in order to increase their operational potential, administrators leadership; executives should build confidence in supervisors, budget; should allocate sufficient, participatory management; personnel should be encouraged to participate in management, information technology; systematic collection of information should be promoted, motivation; executives should be advisors and communication; Managers should be encouraged to use technology to help communicate.
คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหาร, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการKeyword
Administrative Factors, Effectiveness of Academic Administrationกำลังออนไลน์: 87
วันนี้: 2,016
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,215
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093