...
...
เผยแพร่: 18 ธ.ค. 2565
หน้า: 53-63
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 427
Download: 201
Download PDF
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
Administrative Factors Affecting the Effectiveness of Personnel Management in Schools Under the Office of Secondary Educational Service Area Sakon Nakhon
ผู้แต่ง
ธำรงเดช ธำรงรัชพงษ์, เยาวลักษณ์ สุตะโคตร, ธวัชชัย ไพไหล
Author
Thumrongdej Thumrongratchapong, Yaovalak Sutacort, Tawatchai Pilai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับ เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ และศึกษาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล และครูผู้สอน และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ปีการศึกษา 2563 จำนวน 338 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 97 คน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล จำนวน 45 คน และครูผู้สอน จำนวน 196 คน วิธีสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.99 และประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

2. ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

3. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียนโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนโดยรวม อยู่ในระดับสูง (r = 0.863) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน จำนวน 6 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนได้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้างสถานศึกษา (X7) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (X5) ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร (X1) และด้านการติดต่อสื่อสาร (X9) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากร (X8) และด้านงบประมาณ (X3) โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 79.00 เขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้ Y’ = 0.53 + 0.45 X7 + 0.16 X5 + 0.13 X1 - 0.16 X9 + 0.19 X8 + 0.11 X3 และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Z’ = 0.48 ZX7 + 0.17 ZX5 + 0.14 ZX1 - 0.19 ZX9 + 0.20 ZX8 + 0.12 ZX3

7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน เสนอแนะไว้ 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการมีภาวะผู้นำให้ครูและผู้บริหารควรมีการพัฒนาความก้าวหน้าทางตำแหน่งอย่างสม่ำเสมอ ด้านงบประมาณ ควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอในการดำเนินงานในแต่ละฝ่าย และควรมีงบการซ่อมบำรุง จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรมีการใช้เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลการสื่อสารที่หลากหลาย และควรมีการไปศึกษาดูงานองค์การที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านเทคโนโลยี ด้านโครงสร้างสถานศึกษา ควรจัดบุคลากรให้ปฏิบัติหน้าที่ตามความเหมาะสม และควรมีการจัดระบบแบบแผนโครงสร้างที่ชัดเจนเอื้อต่อการบริหารจัดการ ด้านการพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาในทุกด้าน และควรมีระเบียบการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ที่การพัฒนาบุคลากรให้มีความมาตรฐาน และด้านการติดต่อสื่อสาร ควรรับฟังสภาพปัญหาของครูที่พบในการปฏิบัติงาน และควรมีช่องทางการติดต่อสื่อสารที่หลากหลายเพื่อประชาสัมพันธ์รับทราบข้อมูลที่ตรงกัน

Abstract

The purposes of this research were: to examine the level of Administrative Factors and Effectiveness of Personnel Management in Schools; to compare Administrative Factors and Effectiveness of Personnel Management in Schools with different position, school sizes and work experience; to find out the relationship between Administrative Factors and Effectiveness of Personnel Management in Schools; to identify the predictive power of administrative factors affecting the effectiveness of personnel management in schools; and to establish the guidelines for developing administrative factors affecting the effectiveness of personnel management in schools. The samples consisted of a total of 338 participants including 97 school administrators, 45 heads of personnel management group and 196 teachers in the 2021 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires concerning Administrative Factors with the reliability of 0.99 and effectiveness of personnel management in schools with the reliability of 0.97. The statistics used foe data analysis were mean, standard deviation, F – test (One – Way ANOVA), Pearson Product-Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The findings were as follows:

1. The school administrative factors as a whole at a highest level.

2. The effectiveness of personnel management in schools as a whole at a highest level.

3. The school administrative factors with different position, school sizes and work experience, as a whole were different at a statistical significance of the .01 level.

4. The effectiveness of personnel management in schools with different position and work experience, as a whole were different at a statistical significance of the .01 level, but there was not different in terms of school sizes in overall.

5. The school administrative factors and the effectiveness of personnel management in schools, as a whole had a positive relationship at the statistical significance of the .01 level.

6. The school administrative factors comprised four aspects. The six factors were able to predict the effectiveness of personnel management in schools at the statistical significance of the .01 level. The said factors comprised: school structure (X7), information technology (X5), administrators leadership (X1) and communication (X9). The factor which was at the statistical significance of the .05 level was personnel development (X8) and budget (X3). The equation could be summarized in raw scores as follows; Y’ = 0.53 + 0.45 X7 + 0.16 X5 + 0.13 X1 - 0.16 X9 + 0.19 X8 + 0.11 X3. And the predictive equation standardized scores was Z’ = 0.48 ZX7 + 0.17 ZX5 + 0.14 ZX1 - 0.19 ZX9 + 0.20 ZX8 + 0.12 ZX3

7. The guidelines for developing administrative factors affecting the effectiveness of personnel management in schools involved six aspects: administrators leadership Administrators must be a good role model for teachers. And executives should develop their position progress regularly; budget The budget should be allocated enough to operate in each department. and should have a budget for maintenance Procurement of materials and equipment to facilitate the operation; information technology a variety of communication technologies should be used. And there should be a study tour of organizations that have best practices in technology; school structure

คำสำคัญ

ปัจจัยทางการบริหาร, ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคล

Keyword

Administrative Factors, Effectiveness of Personnel Management.

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093