...
...
เผยแพร่: 18 ธ.ค. 2565
หน้า: 42-52
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 560
Download: 190
Download PDF
แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนหว้านใหญ่ประชาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
Guidelines For the Management of Leaning Resources the Philosophy of The Sufficiency Economy, Wan Yai Prachakom School, Under Primary Educational Service Udonthani Area Office 3
ผู้แต่ง
ยงยุทธ สิมสีพิมพ์
Author
Yongyoot Simseephim

บทคัดย่อ

รายงานการวิจัย เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนหว้านใหญ่ประชาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการใช้แหล่งเรียนรู้ และเพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนหว้านใหญ่ประชาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสภานักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 36 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบข้อมูล ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาและสังเคราะห์เอกสาร(Documentary Analysis) ระยะที่ 2 การศึกษาภาคสนาม และระยะที่ 3 การตรวจสอบความถูกต้องโดยใช้วิธีตรวจสอบตรวจสอบซ้ำกับกลุ่มเป้าหมายเดิม

ผลการวิจัย พบว่า

1. การใช้แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนหว้านใหญ่ประชาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 พบว่า มีการใช้แหล่งเรียนรู้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน และแหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน ดังนี้

1.1 แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน เช่น 1) ฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ฐานการปลูกพืชผักสวนครัว/ปลูกมะนาว ฐานปุ๋ยน้ำหนักชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ ฐานการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซิเมนต์ ฐานการเลี้ยงหมูป่า การเลี้ยงเป็ดเทศ ฐานกิจกรรม Mini Company และฐานกิจกรรม Mini Bank 2) ห้องสมุดมีชีวิต 3) ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 4) ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 5) สนามเด็กเล่น และ 6) สนามกีฬา เป็นต้น

1.2 แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน วัดลำดวน ร้านค้าในหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนกลอย องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอย กุดมอนแหล่งน้ำธรรมชาติหลังโรงเรียน ป่าชุมชนป่าโคกเหวป่าก้าว ดนตรีพื้นเมือง แหล่งทอผ้าของชุมชน และการละเล่นพื้นเมืองของชาวบ้านหว้าน

2. แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนหว้านใหญ่ประชาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 พบว่า

2.1 แนวทางการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เข้ามาเปลี่ยนหลักการในการบริหารจัดการสถานศึกษาในทุกมิติ คือ 1) ด้านบริหารทั่วไป 2) ด้านนโยบายและแผนฯ 3) ด้านบริหารงบประมาณและ 4) ด้านบริหารงานบุคคล รวมถึงในเรื่องชุมชนสัมพันธ์

2.2 แนวทางการการจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกกระบวนการปลูกฝังหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติของผู้เรียน ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และทุกระดับชั้น

2.3 แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่หลากหลายอย่างสอดคล้องกับบริบทและภูมิสังคมของสถานศึกษา เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับผู้เรียน

2.4 แนวทางการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาให้ได้เรียนรู้ และพัฒนาการปฏิบัติตน และปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง

2.5 แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการบ่มเพาะอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียง เช่น ความสะอาด ความร่มรื่น ความปลอดภัยมีแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่า และสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา

2.6 แนวทางการนำชุมชน หน่วยงาน องค์กร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับผู้เรียน

Abstract

The objectives of this qualitative research were to learning sources and to investigate a guideline in managing the learning sources to facilitate learning based on the Principle of Sufficiency Economy of the school. The population involved in this study consisted of 36 school administrators, teachers and educational personnel, students’ council members, and members of the Basic Education Board. The research instruments included an interview, a data record, and a data verification record. The study was divided into three phases. The first phase was a documentary analysis. The second phase was a field study and the last phase was data verification by the same target groups.

The results of the study are summarized as follows.

1. Learning sources of the school are divided into two types: internal learning sources and external learning sources.

1.1 The internal learning sources are composed of 1) the Sufficiency Economy Learning Center is Vegetable planting base / Lemon planting, Bio-weight fertilizer base and organic fertilizer, Catfish farming base in cement pond, Boar raising base, Duck Farming Base, Mini Company activity base and the Mini Bank activity base 2) living library 3) Computer lab 4) Science laboratory 5) playground and 6) sports fields etc.

1.2 The external learning sources include folk scholars, the Lumdoun temple; Stores, Retail; the Don Koy Tambon Health Promotion Hospital; the Don Koy Tambon Administrative Organization; the Goud Mon Water Source; the Kok Hel Pha Kraw community forest; Northeastern folk music; Community weaving source and Indigenous plays.

2. The guideline to manage the learning sources to conducted as follows;

2.1 Implementing the principle into the school management and administration in all dimensions, namely, general administration, policy and planning, budget and personnel administration, and community relationship.

2.2 Integrating the principle into learning management in every learning strand and level in order to cultivate the principle in learners to implement and practice.

2.3 Organizing various learning activities in accordance with school and social contexts in order to facilitate learning and implementation of the principle in learners.

2.4 Developing school personnel by having them learn, practice and implement the principle into their duties.

2.5 Managing the school environment in a way that cultivates the habit of “sufficient living”, such as, cleanliness, shadiness, safety, and cost-effective utilization of resources in accordance with the school contexts.                                  

2.6 Involving communities and state and private agencies in school activities to the principle of learners.

คำสำคัญ

แนวทางการบริหารจัดการ, แหล่งเรียนรู้, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Keyword

Guidelines Management, Learning Sources, Principle of Sufficiency Economy

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093