บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจพยากรณ์ของสมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูและหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ปีการศึกษา 2563 จำนวน 335 คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 77 คน และครูผู้สอน จำนวน 258 คน จากโรงเรียน 45 โรงเรียน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และวิธีสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.448 – 0.816 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.943 และแบบสอบถามประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.492 – 0.807 และ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.910 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. การเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตาม ขนาดโรงเรียนไม่แตกต่างกัน
4. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน แตกต่างกันอย่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน
5. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวม กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .528
6. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนได้โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ (X5) การทำงานเป็นทีม (X4) การบริการที่ดี (X2) และ การพัฒนาตนเอง (X3)
7. แนวทางพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมีจำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ ผู้บริหารจะต้องมีการคิดวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา พร้อมมีการกำหนดทิศทางในอนาคต 2) การทำงานเป็นทีม ให้ความสำคัญของการทำงานเป็นทีม ตระหนักถึงความสำคัญของกันและกัน แสดงออกซึ่งการยอมรับ การให้เกียรติกัน 3) การบริการที่ดี ผู้บริหารความมีความเต็มใจในการบริการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องชัดเจนแก่ผู้รับบริการและ 4) การพัฒนาตนเอง ควรมีดารศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะให้กับผู้บริหาร
Abstract
The purposes of this research were to examine and compare school administrators' competencies and the effectiveness of teacher performance under Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area Office, as perceived by school administrators and teachers, classified by positions, school sizes and work experience; to explore the relationships and the predictive power of school administrators’ competencies affecting the effectiveness of teacher performance; and to establish guidelines for developing school administrators' competencies affecting the effectiveness of teacher performance under Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area Office. The sample quantity is selected based on the Krejcie and Morgan’s table. The sample group, obtained through stratified sampling for this research consisted of 77 school administrators and 258 teachers from 45 schools under Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area Office in academic year 2020, yielding a total of 335 participants. The research instruments were sets of 5-rating scale questionnaires consisting of school administrators’ competencies with the discriminative power from 0.448 to 0.816 and the reliabilities of 0.943, and the effectiveness of teacher performance with the discriminative power from 0.492 to 0.807 and the reliabilities of 0.910. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s product - moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings revealed that:
1. The competencies of school administrators were overall at a high level.
2. The effectiveness of teacher performance was overall at a high level.
3. The competencies of school administrators as perceived by participants classified by positions, and work experience were at the .01 level of significance, whereas no differences were found in terms of school sizes.
4. The effectiveness of teacher performance as perceived by participants classified by positions and school sizes was at the .01 level of significance, whereas in terms of work experience, there was no difference.
5. The relationship between school administrators’ performance and teacher performance as a whole was positive at the moderate level with the .01 level of significance and the correlation coefficient of .528.
6. The competencies of school administrators could predict the effectiveness of teacher performance at the .01 level of significance consisting of four aspects: analysis and synthesis (X5), teamwork (X4), good services (X2), and personal development (X3).
7. Guidelines for developing the competencies of school administrators and the effectiveness of teacher performance included four aspects: 1) Analysis and Synthesis, administrators must analyses current situations, problems, and determine the future direction; 2) Teamwork, administrators should recognize the importance of team working practices, be aware of the importance of others, show acceptance of and respect for others; 3) Good Services, administrators should be willing to provide services, and accurate and clear information; 4) Self-development, administrators should engage in self-study, and attend in-service trainings to enhance administrative skills
คำสำคัญ
สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูKeyword
Competencies of School Administrators, Effectiveness of Teacher Performanceกำลังออนไลน์: 81
วันนี้: 1,962
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,161
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093