บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจของครูกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 91 คน และครูผู้สอน จำนวน 227 คน รวมทั้งสิ้น 318 คน ปีการศึกษา 2563 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (5 Rating Scale) จำนวน 2 ชุด คือ แบบสอบถามแรงจูงใจของครูและแบบสอบถามการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.66 - 0.86, 0.88 – 0.88 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.93, 0.94 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า
1. แรงจูงใจของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. แรงจูงใจของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน พบว่า หากจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และขนาดของโรงเรียน ไม่แตกต่างกันทั้งโดยรวม และรายด้าน และหากจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน พบว่า หากจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และขนาดของโรงเรียน ไม่แตกต่างกันทั้งโดยรวม และรายด้าน และหากจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจของครูกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์การทางบวก
6. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาแรงจูงใจของครูไว้มี 4 ด้าน ดังนี้ ด้านโยบายและการบริหารงาน ผู้บริหารควรรับฟังความคิดเห็นของครู บุคลากรที่ปฏิบัติงานอย่างเท่าเทียม รอบรู้ รอบคอบ และชัดเจนในการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติ ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน ผู้บริหารควรจัดบรรยากาศการทำงานในโรงเรียน ที่เอื้อให้ครูมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ด้านความสำเร็จของงานที่ปฏิบัติ ผู้บริหารควรมีการประกาศเกียรติคุณ ยกย่องชมเชย ชื่นชมให้ความสำคัญกับความสำเร็จของงานที่ปฏิบัติ และด้านความรู้สึกมั่นคงในงานที่ปฏิบัติ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูมีความก้าวหน้าทางวิชาชีพครูอยู่เสมอ
Abstract
The purposes of this research were to examine the relationship between teachers’ motivation and performance based on the Teacher Professional Standards under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3. The sample, obtained through multi-stage random sampling, consisted of 91 school administrators and 227 teachers, yielding a total of 318 participants, in the academic year 2020. The research instruments were two sets of 5- point rating scale questionnaires, including a set of questionnaires on teachers’ motivation and a set of questionnaires on teachers’ performance based on the Teacher Professional Standards with the discriminative power ranging from 0.66 to 0.86, and 0.88 to 0.88, and the reliability of 0.93 and 0.94, respectively. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, One-Way ANOVA, and Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient.
The findings were as follows:
1. Teachers’ motivation, as a whole, was at a high level.
2. Teachers’ performance based on the Teacher Professional Standards, as a whole, was at a high level.
3. Teachers’ motivation as perceived by participants with different positions and school sizes, as a whole and in each aspect, showed no differences, whereas in terms of work experience, there was different at the .01 level of significance in overall.
4. Teachers’ performance based on the Teacher Professional Standards as perceived by participants with different positions and school sizes, as a whole and each aspect, showed no differences, whereas in terms of work experience, there was different at the .01 level of significance in overall.
5. The relationship between teachers’ motivation and performance based on the Teacher Professional Standards, as a whole, was positively correlated.
6. The research proposed guidelines for developing teachers’ motivation consisting of four aspects: Policy and Administration. Administrators should listen to the opinions of teachers and personnel equally. In addition, administrators should master the discipline, carefully adhere to established principles, and set up clear policies and performance practices. In terms of organizational relationships, administrators should create work atmospheres in schools that are conducive for good relationships among teachers. Regarding work performance success, administrators should show recognition and appreciation at work, and focus on the importance of work performance success. In terms of work stability, administrators should regularly promote teachers’ career advancement
คำสำคัญ
แรงจูงใจของครู, การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูKeyword
Teachers’ Motivation, Teachers’ Performance Based on Teacher Professional Standardsกำลังออนไลน์: 75
วันนี้: 2,173
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,372
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093