...
...
เผยแพร่: 5 ต.ค. 2565
หน้า: 246-256
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 336
Download: 155
Download PDF
ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคายและบึงกาฬ
The Relationship between Administrators’ Exercise of Power and Motivation in Teacher Performance Under Nong Khai and Bueng Kan Secondary Educational Service Area Offices
ผู้แต่ง
ยุภามาศ คำเมืองโม้, ไชยา ภาวะบุตร, เพ็ญผกา ปัญจนะ
Author
Yupamas Kammuengmo, Chaiya Pawabutra, Penphaka Panjana

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และหาแนวทางการพัฒนาการใช้อำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคายและบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 90 คน และครูผู้สอน จำนวน 244 คน ปีการศึกษา 2563 รวม 334 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.388 - 0.814 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.990 และแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติของครู มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.398 - 0.945 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.973 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t – test for Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One -Way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า

1. การใช้อำนาจของผู้บริหาร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. การเปรียบเทียบการใช้อำนาจของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่จำแนกตามขนาดของโรงเรียน และสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ โดยรวมไม่แตกต่างกัน

4. การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่จำแนกตามขนาดของโรงเรียน และสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง (rxy=0.901**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. แนวทางการพัฒนาการใช้อำนาจของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู มีแนวทางดังนี้ 1) ด้านอำนาจตามกฎหมาย ผู้บริหารต้องใช้อำนาจอย่างถูกต้องและเป็นธรรม และมอบหมายงานตรงตามความรู้ ความสามารถ 2) ด้านอำนาจในการบังคับ ผู้บริหารควรมีนิเทศ ดูแลการปฏิบัติงานของครูอย่างต่อเนื่อง ในการลงโทษต้องสืบหาข้อเท็จจริงก่อนการลงโทษ 3) ด้านอำนาจในการให้รางวัล ผู้บริหารต้องมีการยกย่องชมเชย ครูที่ทำความดี ส่งเสริม ให้การสนับให้ครูได้มีการพัฒนาตนเอง 4) ด้านอำนาจอ้างอิง ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล เคารพสิทธิความคิดเห็น และให้เกียรติผู้อื่น 5) ด้านอำนาจความเชี่ยวชาญ ผู้บริหารต้องมีความคิดสร้างสรรค์ นำแนวคิด ทฤษฎีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและแก้ปัญหาได้ทุกสถานการณ์ และ 6) ด้านอำนาจข้อมูลข่าวสาร ผู้บริหารจะต้องจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ และต้องมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการจัดระบบการบริหารการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Abstract

The purposes of the research were to examine, compare, determine the relationship and establish guidelines for developing administrators’ exercise of power and motivation in teacher performance under Nong Khai and Bueng Kan Secondary Educational Service Area Offices. The samples consisted of 334 participants, including 90 school administrators and 244 teachers in the academic year 2020. The research instruments were two sets of questionnaires: a set of questionnaires on school administrators’ exercise of power with the discrimination power ranging from 0.388 to 0.814 and the reliability of 0.990, and a set of questionnaires on motivation in teacher performance with the discrimination power ranging from 0.398 to 0.945 and the reliability of 0.973. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation. The hypothesis testing was done through Independent samples t-test, One-Way ANOWA, Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient.

The results of the research were as follows:

1. The exercise of power of administrators, as a whole and each aspect was rated at a high level.

2. The motivation in teacher performance, as a whole and each aspect was rated at a high level.

3. The comparison results showed that the overall administrators’ exercise of power as perceived by participants with different positions and work experience was different at the .01 level of significance, whereas there was not different in overall in terms of school sizes and Educational Service Area Offices.

4. The comparison results on motivation in teacher performance as perceived by participants with different positions and work experience was different at the .01 level of significance, whereas there was not different in overall in terms of school sizes and Educational Service Area Offices.

5. The relationship between the administrators’ exercise of power and motivation in teacher performance was positive at a high level (rxy=0.901**) with the .01 level of significance.

6. The guidelines for developing the administrators’ exercise of power and motivation in teacher performance were as follows: 1) Legitimate Power. Administrators must not only exercise their powers in the correct manner but must also comply with the rules of fairness. Administrators must also assign tasks based on an individual’s competencies; 2) Coercive Power. Administrator should supervise and monitor teachers’ performance continuously; 3) Reward Power. Administrators must give praise teachers for doing well, promote and support teachers for professional development; 4) Referent Power. Administrators must have a wide vision, and respect other people’s rights and opinions, and others; 5) Expert Power. Administrators must have creative thinking to apply various concepts and theories into practice and to solve problems for every situation; and 6) Information Power. Administrators must ensure that the information is gathered and stored systematically and have knowledge on the use of technologies in enhancing effective educational administration system

คำสำคัญ

การใช้อำนาจของผู้บริหาร, แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู

Keyword

Administrators’ Exercise of Power, Motivation in Teacher Performance

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093