บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำนวน 309 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 โดยภาพรวม มีทักษะอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีทักษะอยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยคือ ทักษะด้านเทคนิค รองลงมา คือ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ และทักษะด้านความคิดรวบยอด
2. การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยคือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง รองลงมาคือ ด้านการออกจากราชการ ด้านวินัยและการรักษาวินัย ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง และด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานราชการ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 โดยภาพรวม พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติฟ
Abstract
This research aimed to study the relationship between administrative skills and personnel management of administrators in basic education schools under suphanburi primary educational service area office 3. The sample used in the study was 309 parents of the students in the subject area selected by simple random. the research instrument was a 5-level rating scale questionnaire with content validity 0.67-1.00 and reliability 0.95. the statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and pearson’ correlation coefficient at statistical significance of 0.01.
The findings:
1. Administrative skills of school administrators under suphanburi primary educational service area office 3, in general, skills at a high level. when considered individually, it was found that the skills were at a high level in all areas. in order, the mean is the second most technical skills were interpersonal skills and conceptual skills.
2. Personnel management of school administrators under suphanburi primary educational service area office 3, overall, the practice was at a high level. when considering each aspect, it was found that the practice was at a high level in all aspects. in order, the mean is manpower planning and position determination, followed by the discharge from government service discipline and discipline recruitment and appointment and enhancing efficiency in government performance.
3. The relationship between administrative skills and personnel management of administrators in basic education schools under suphanburi primary educational service area office 3 overall, it was found that there was a positive relationship. statistically significant
คำสำคัญ
ความสัมพันธ์, ทักษะการบริหาร, การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารKeyword
Relationship, Administrative skills, Personnel management of school administratorsกำลังออนไลน์: 89
วันนี้: 1,900
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,099
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093