...
...
เผยแพร่: 5 ต.ค. 2565
หน้า: 225-234
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 2299
Download: 397
Download PDF
แนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1
Guidelines For The Internal Supervision Of Schools Under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง
โสภณ ลำเภา, มิตภาณี พุ่มกล่อม, พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์
Author
Sopon Lumpao, Mitparnee Pumklom, Pongsak Ruamchomrat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนิเทศภายในและแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 305 คน โดยใช้สุ่มแบบชั้นภูมิตามพื้นที่จัดการศึกษาและตัวอย่างที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00 และความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.99 และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. การนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย คือ ด้านการวางแผนการนิเทศ ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการด้านการปฏิบัติการนิเทศด้านการประเมินผลและการรายงาน และด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือการนิเทศ

2. แนวทางการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ตามขั้นตอนการปฏิบัติการนิเทศภายใน มีรายละเอียด ดังนี้

2.1 ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ มีแนวทางการนิเทศภายใน คือ สถานศึกษาสำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหาและข้อจำกัดในการนิเทศภายใน วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน สร้างความเข้าใจในกระบวนการนิเทศภายในที่ตรงกัน กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และดำเนินการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบ

2.2 ด้านการวางแผนการนิเทศ มีแนวทางการนิเทศภายใน คือ สถานศึกษานำข้อมูลจากการสำรวจปัญหาและความต้องการ มาวางแผนการดำเนินการนิเทศภายในให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ปัจจุบันโดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีส่วนร่วมในการวางแผน กำหนดกิจกรรม และขั้นตอนการปฏิบัติการนิเทศภายใน

2.3 ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือการนิเทศ มีแนวทางการนิเทศภายใน คือ สถานศึกษาจัดทำคู่มือและสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศภายในแต่ละกิจกรรมให้ครูทราบ โดยผ่านการประชุมหรือเอกสารและออกแบบเครื่องมือในการติดตามการนิเทศภายในที่มีคุณภาพ ใช้งานง่าย เพื่อสะท้อนผลการนิเทศภายใน

 2.4 ด้านการปฏิบัติการนิเทศ คือ มีแนวทางการนิเทศภายใน คือ สถานศึกษามีระบบการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในรูปแบบต่าง ๆ เข้ามาปรับใช้ตามบริบทและสถานการณ์ ปฏิบัติการนิเทศตามปฏิทินการนิเทศที่กำหนดไว้ และนำเทคนิค วิธีการใหม่ ๆ เช่น ใช้คลิปวิดีโอ เข้ามาใช้ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามบริบทของแต่ละสถานศึกษา

2.5 ด้านการประเมินผลและการรายงาน มีแนวทางการนิเทศภายใน คือ สถานศึกษาดำเนินการประเมินผลการนิเทศ 3 ระยะ คือ ก่อนการปฏิบัติ ระหว่างการปฏิบัติ และหลังการปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบที่เหมาะสมมีการสรุปผลและรายงานผลการนิเทศภายในให้ทุกฝ่ายทราบ และนำผลการประเมินมาปรับปรุง และพัฒนาการนิเทศภายในครั้งต่อไป

Abstract

The purposes of this research were to study internal supervision and to study the guidelines for internal supervision of schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 1 The samples consisted of 305 teachers in basic education school under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 1, selected by using a stratified random sampling according to the study area and the sample used in the group discussion, consisting of 5 qualified persons by purposive sampling. The research instrument was a 5-level estimation scale questionnaire with content accuracy of 1.00 and confidence of 0.99 and focus group from. The statistics used in the data analysis consisted of percentage, mean, standard deviation. and content analysis.

The result of this study revealed that:

1. The internal supervision of schools was overall and each individual aspect at a high level, ranking in the order of mean from high to low as Supervision planning, Study of current condition Problems and needs, Supervision operation, Evaluation and reporting, and Creating media and supervision tools.

2. The guidelines for internal supervision of educational institutions Under the Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 1, the internal supervision operating procedures are as follows:

2.1 Education of the current state Problems and needs have a guideline, namely, educational institutions survey the current condition. Problems and limitations in internal supervision Analysis of strengths and weaknesses Build an understanding of the corresponding internal supervision process. set clear goals and systematically conduct internal supervision.

2.2 In the field of supervision planning, there is a guideline, which is that educational institutions use data from surveys of problems and needs. Let's plan internal supervision operations in accordance with the current context and situation. The school administrators and teachers are involved in planning, scheduling activities and procedures for internal supervision operations.

2.3 In terms of creating media and tools for supervision, there is a guideline, namely, educational institutions prepare manuals and create knowledge and understanding about supervision within each activity for teachers to know. through meetings or documents and designed a quality, easy-to-use internal supervision monitoring tool to reflect the results of internal supervision.

2.4 In the field of supervising operations, there are guidelines, ie, educational institutions have effective communication systems. It may use information and communication technology in various forms to adapt to the context and situation. Conduct supervision according to the specified supervision calendar and apply new techniques such as video clips to promote, support and improve the quality of educational management according to the context of each educational institution.

2.5 In terms of evaluation and reporting, there is a guideline, namely, educational institutions conduct supervision evaluation in 3 phases, namely before implementation. during practice and after the practice using the appropriate format The results of the internal supervision are summarized and reported to all parties for acknowledgment. and bring the evaluation results to improve and the development of internal supervision in the next.

คำสำคัญ

การนิเทศภายในสถานศึกษา

Keyword

supervision within educational institutions

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093